top of page

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. ๒๑๙๙ - ๒๒๓๑)

                ราชอาณาจักรอยุธยา เป็นศูนย์กลางการค้านานาชาติที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาค เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งที่สะดวกต่อการคมนาคมและการขนส่งทางน้ำ มีแม่น้ำสามสายล้อมรอบ ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำป่าสักและแม่น้ำลพบุรี ซึ่งระยะเชื่อมต่อไม่ไกลจากอ่าวไทย  นอกจากนั้นยังเป็นศูนย์รวมสินค้าเกษตร สินแร่ และเป็นตลาดของป่าขนาดใหญ่ ที่สำคัญพระมหากษัตริย์ของอยุธยาทรงดำเนินนโยบายส่งเสริมการค้าชาย และทรงเอื้อเฟื้อต่อบรรดาพ่อค้าชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าทำการค้าในราชอาณาจักรอยุธยา  เนื่องจากทรงตระหนักว่าการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาตินั้นนำมาซึ่งความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ พ่อค้าที่เข้ามาติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้ามีความหลากหลายสัญชาติ คู่ค้าชาวเอเชีย เช่น จีน ญี่ปุ่น อาหรับ มลายู  อินเดีย ชวา และฟิลิปปินส์ ส่วนชาติตะวันตกได้แก่  ฮอลันดา โปรตุเกส สเปน อังกฤษ และฝรั่งเศส

                สินค้าขาเข้าที่กรุงศรีอยุธยาต้องการได้แก่ สินค้าพวกอาวุธปืน กระสุนดินดำ ผ้าไหม ผ้าแพร ผ้าลาย น้ำหอม เครื่องถ้วยชาม และเครื่องกระเบื้อง สินค้าออกของอยุธยาที่เป็นที่ต้องการของชาวต่างประเทศ เช่น ข้าว เกลือ นอแรด งาช้าง เขากวาง หนังสัตว์ ไม้กฤษณา ไม้จันทน์แดง ไม้หอม ไม้ฝาง หมากสด ดินประสิว ทองแดง ดีบุก ตะกั่ว พริกไทย ยี่หร่า กานพลู ลูกจันทน์  เป็นต้น

แผนที่อยุุธยา2.jpg
2_edited_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited_edited.png

แผนที่กรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๒๓๐
โดยฌาคส์ นิโกลาส์ เบแล็ง (่Jacques Nicolas Bellin) ชาวฝรั่งเศส
แสดงที่ตั้งของชุมชนหลากหลายเชื้อชาติที่เข้ามาอาศัยในราชอาณาจักรอยุธยา

มูลเหตุของความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

เดอโชมองต์.png

เชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont)
ราชทูตฝรั่งเศสทูลเกล้าฯ ถวายพระราชสาส์นแด่สมเด็จพระนารายณ์

เดอโชมองต์01.png

ภาพเหมือนพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ (King Louis XIV)

วาดโดย ไฮนริค ริกาต์

                สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสวยราชสมบัติใน พ.ศ.๒๑๙๙ โดยมีพระราชอำนาจที่มั่นคงมาก เพราะขุนนาง พระสงฆ์ และชาวต่างชาติหลายกลุ่ม โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นและชาวมุสลิม (เปอร์เซีย) สนับสนุนพระองค์ในการชิงราชสมบัติ แต่เมื่อชาวตะวันตกติดต่อการค้ากับกรุงศรีอยุธยาาและมีอิทธิพลในกรุงศรีอยุธยา พระราชอำนาจเริ่มสั่นคลอนจากการที่ชาวตะวันตกข่มขู่คุกคาม ที่สำคัญคือ “ชาวฮอลันดา”

ทหารญี่ปุ่น01.png

ภาพชาวญี่ปุ่นอยู่ในขบวนชั้นในของขบวนเสด็จพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐิน

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

ทหารเปอเซีย201.png

ภาพจิตรกรรมฝาผนังของพระอุโบสถวัดสุวรรณาราม กรุงเทพมหานคร
ปรากฏภาพทหารเปอร์เซียในตอนบนของภาพ

เรือฮอลันดา201.png

ภาพเขียนสีแสดงรูปเรือของบริษัทอินเดีย

ตะวันออกของฮอลันดา

(Dutch East India Company หรือ V.O.C)

      ฮอลันดาเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยตั้งแต่ปลายสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช โดยเข้ามาขอตั้งสถานีการค้าเมื่อ พ.ศ.๒๑๔๗ และเป็นชาติตะวันตกชาติแรกที่ดำเนินการค้าอย่างมีระบบและขั้นตอนในรูปของบริษัทการค้า คือ บริษัทอินเดียตะวันออก (East India Company) หรือวีโอซี (VOC)  การติดต่อการค้าระหว่างไทยกับฮอลันดาดำเนินไปด้วยความราบรื่นจนถึงในรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ.๒๑๗๓ - ๒๑๙๙) เกิดความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์การค้าทางทะเลตะวันออกตั้งแต่ชวาจนถึงจีน  โดยเฉพาะการค้ากับญี่ปุ่นซึ่งเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของฮอลันดา และความขัดแย้งนี้ดำเนินเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ซึ่งมีการขยายการค้าเรือสำเภาของพระองค์ไปยังญี่ปุ่นและไต้หวัน โดยใช้ลูกเรือจีน ทำให้วีโอซีไม่พอใจ เพราะต้องการเป็นผู้นำเข้าหลักของสินค้าจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปญี่ปุ่น (ขณะนั้นญี่ปุ่นกำลังอยู่ในระหว่างปิดประเทศ และอนุญาตให้พ่อค้าจีนและฮอลันดาเท่านั้นเข้าไปค้าขายได้) อีกทั้งพวกฮอลันดายังถือว่าผู้ที่ครอบครองไต้หวันเป็นศัตรูที่ขับไล่พวกตนออกจากที่นั่น จึงพยายามบีบให้สยามออกจากการค้าในเอเซียตะวันออกด้วยการใช้เรือวีโอซีติดอาวุธ ๒ ลำ ลาดตระเวนบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา  และทำการยึดเรือสำเภาที่ขนสินค้ามาจากญี่ปุ่นและจีนระหว่าง พ.ศ. ๒๒๐๔ - ๒๒๐๖ บริษัทได้ใช้สถานะที่เหนือในครั้งนี้บีบให้ราชสำนักสยามลงนามใน“สนธิสัญญาสยาม – ฮอลันดาฉบับแรก พ.ศ.๒๒๐๗” มีสาระสำคัญ

คือ ให้วีโอซีค้าขายได้อย่างเสรีในสยาม ห้ามสยามใช้ลูกเรือจีนบนสำเภาหลวง และให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่คนในบังคับวีโอซี  เหตุการณ์ครั้งนี้เรียกว่า “วิกฤตการณ์ฮอลันดา” ซึ่งได้ยุติลงด้วยการที่กรุงศรีอยุธยายอมทำสนธิสัญญากับฮอลันดา เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ.๒๒๐๗

ทหารโปรตุเกส202.png
siamese-vessel-in-seventeenth201.png

ภาพเขียนลายเส้นทหารโปรตุเกส

เรือสำเภาสยามที่ไปค้าขายเมืองนางาซากิ

(จากเอกสารไทเซนซุคัง)

                   ดังนั้นสมเด็จพระนารายณ์จึงทรงกำหนดนโยบายใหม่ คือ นโยบายถ่วงดุลอำนาจ แสวงหาชาติอื่นที่มีอำนาจพอที่จะถ่วงดุลอำนาจของฮอลันดา ในระยะแรก สมเด็จพระนารายณ์ทรงพยายามใช้พวกมุสลิม (เปอร์เซีย) และโปรตุเกสถ่วงดุลอำนาจฮอลันดาแต่ไม่เป็นผล เพราะฮอลันดามีกองทัพเรือที่เข้มแข็งกว่า ส่วนโปรตุเกสได้ยุติความสัมพันธ์กันไปแล้ว 

              เมื่อบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษส่งตัวแทนเข้ามาติดต่อการค้ากับกรุงศรีอยุธยา เป็นโอกาสอันดีที่พระองค์ทรงยึดเอาอังกฤษซึ่งเป็นคู่แข่งของฮอลันดามาเป็นพันธมิตร แต่นโยบายนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะอังกฤษมีอิทธิพลน้อยในกรุงศรีอยุธยา อีกทั้งมีปัญหาการเมืองภายในประเทศ  เมื่อหวังพึ่งอังกฤษในการต่อรองอำนาจกับฮอลันดาไม่สำเร็จ สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงสนพระทัยที่จะติดต่อกับฝรั่งเศสตามคำกราบบังคมทูลของเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ว่าฝรั่งเศสมีความสนใจที่จะทำการค้ากับนานาประเทศ ซึ่งในเวลานั้นฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจที่มีความเจริญรุ่งเรืองประเทศหนึ่งในทวีปยุโรป  มีอำนาจและอิทธิพลมากพอที่จะถ่วงดุลอำนาจฮอลันดาได้

ศาสนา

               บาทหลวงฝรั่งเศสเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนให้ฝรั่งเศสเปิดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย กล่าวคือ คณะบาทหลวงชาวฝรั่งเศสสังกัดคณะมิสซังต่างประเทศ (Société des Missions Etrangères) ซึ่งมีสังฆราชแห่งเบริท (Evêque de Béryte) ชื่อว่า เดอ ลามอตต์ ลองแบรต์ (De la Motte Lambert)
เป็นหัวหน้าคณะมิชชันนารีเดินทางผ่านไทยเพื่อไปญวนและจีน  แต่ในเวลานั้นเกิดสงครามระหว่างพม่ากับ
จีน และเกิดความวุ่นวายภายในญวนขึ้น คณะมิชชันนารีจึงจำเป็นต้องพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยา  สองปีต่อมา บาทหลวงฝรั่งเศสอีกชุดหนึ่ง มีหัวหน้าคือสังฆราชแห่งเอลิโอโปลิส (Evêque of Heliopolis) นามว่า สังฆราชปาลลู (Pallu) เห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเหมาะที่จะเป็นศูนย์กลางการเผยแผ่คริสต์ศาสนาในภูมิภาคตะวันออกไกล ต่อมามีโอกาสได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์เป็นการส่วนพระองค์ใน พ.ศ.๒๒๐๘ และได้รับพระราชทานที่ดินติดกับบ้านญวน ที่เรียกว่า “บ้านปลาเห็ด”  (Banplahet)  เพื่อสร้างโรงเรียนสอนศิลปวิทยาการแบบยุโรป และโรงพยาบาล พร้อมทั้งรับพระราชทานสิ่งของสำหรับสร้างโบสถ์เพื่อบำเพ็ญศาสนกิจ นับแต่นั้นการเผยแผ่คริสต์ศาสนาในกรุงศรีอยุธยาก็ดำเนินไปด้วยความราบรื่น

การค้า

saint-joseph's-church201.png

โบสถ์นักบุญโยแซฟ

โบสถ์คาทอลิกแห่งแรกของมิชชั่นนารีฝรั่งเศสในไทย

ปาลู4.jpg

เดอ ลามอต์ ลองแบรด์ สังฆราชแห่งเบริท
(Pierre Lambert de La Motte, Bishop of Berythus)

ปาลู3.jpg

ปาลลู สังฆราชแห่งเอลิโอโปลิส
(Francois Pallu, Bishop of Helioplis)

                บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศสมีสำนักงานแห่งแรก ณ เมืองสุรัต (Surat) ในอินเดีย  เมื่อเห็นว่าไทยต้อนรับคณะบาทหลวงของฝรั่งเศสเป็นอย่างดี อีกทั้งเห็นว่า ไทยมีความเจริญรุ่งเรืองในด้านการค้าที่เหมาะจะเป็นสถานีการค้าในภูมิภาคตะวันออก ใน พ.ศ.๒๒๒๓ จึงขออนุญาตตั้งสถานีการค้าที่กรุงศรีอยุธยา โดยเดส์ลองด์ส์ บูโร (Deslandes Boureau) เป็นหัวหน้าสถานีการค้าของฝรั่งเศสคนแรก โดยมีความมุ่งหมายที่จะซื้อดีบุก พริกไทยและสินค้าที่มาจากจีน ญี่ปุ่นและเมืองต่าง ๆ ฝรั่งเศสติดต่อการค้ากับกรุงศรีอยุธยาในจังหวะเวลาที่สมเด็จพระนารายณ์ทรงกำลังแสวงหาพันธมิตร ในขณะเดียวกันพระองค์ทรงได้รับพระราชสาส์นจากพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ จึงทำให้พระองค์ทรงยินดีต้อนรับพ่อค้าฝรั่งเศสเป็นพิเศษ และได้พระราชทานไม้และวัสดุในการสร้างบ้านเรือนแก่บรรดาพ่อค้าฝรั่งเศสด้วย สมเด็จพระนารายณ์พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ฝรั่งเศสบรรทุกสินค้าทุกชนิดลงในกำปั่นหลวงได้ โดยยกเว้นค่าระวาง ค่าภาษีทองแดงของฝรั่งเศสซึ่งบรรทุกกำปั่นหลวงจากญี่ปุ่น แต่มีข้อแม้ว่าบริษัทต้องซื้อสินค้าเฉพาะจากพระคลังสินค้าเพียงแห่งเดียว นอกจากอภิสิทธิ์ทางการค้าแล้ว  พระองค์ยังทรงอนุญาตให้ฝรั่งเศสตั้งสถานีการค้าที่ภูเก็ตและสงขลา สมเด็จพระนารายณ์ทรงต้องการจะป้องกันภูเก็ตให้พ้นจากอำนาจของฮอลันดา ซึ่งฝรั่งเศสเองก็หวังที่จะทำลายอำนาจของฮอลันดาอยู่แล้วเช่นกัน ส่วนสงขลานั้นเป็นดินแดนที่มีปัญหามาก เกิดกบฏติดต่อกันถึง ๓๐ ปี พระองค์จึงหวังที่จะยืมมือฝรั่งเศสในการปราบปรามกบฏที่เมืองสงขลา

แผนที่เมืองท่าจุดแดง14-09-64.png

แผนที่แสดงเมืองและเมืองท่าในเอเชียที่สำคัญในสมัยอยุธา

ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกรุงศรีอยุธากับฝรั่งเศส

                สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้ส่งคณะทูตไทย ๔ ชุด ไปเจริญพระราชไมตรีกับ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ คณะราชทูตไทยชุดแรกเดินทางไปฝรั่งเศสใน พ.ศ.๒๒๒๓ ออกพระพิพัฒน์ราชไมตรีเป็นราชทูต ออกหลวงศรีวิศาลสุนทรเป็นอุปทูต และออกขุนนครวิชัยเป็นตรีทูต แต่คณะราชทูตชุดนั้นไปไม่ถึงฝรั่งเศสเพราะเรืออับปางที่ชายฝั่งตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ (Madagascar) ไม่มีข่าวคราวอันใด จนกระทั่งใน พ.ศ.๒๒๒๕ สังฆราชเอลิโอโปลิศทูลเกล้าถวายพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ สมเด็จพระนารายณ์จึงทรงทราบว่าคณะราชทูตไทยชุดดังกล่าวไปไม่ถึงฝรั่งเศส ดังนั้นในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๒๒๖  สมเด็จพระนารายณ์จึงโปรดให้ส่งข้าราชการชั้นผู้น้อย ๒ คน คือ ออกขุนพิไชยวาณิช กับออกขุนพิชิตไมตรี เป็นราชทูตชุดพิเศษเดินทางไปฝรั่งเศสเพื่อเจริญสัมพันธไมตรี พร้อมทั้งสืบข่าวของคณะราชทูตไทยชุดแรก

                 ใน พ.ศ. ๒๒๒๘ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ทรงส่งคณะราชทูตฝรั่งเศสชุดแรกเดินทางมาไทย คณะราชทูตฝรั่งเศสชุดนี้ประกอบด้วยเชอวาลิเอร์  เดอ โชมองต์ (Chevalier de Chaumont) เอกอัครราชทูต (Ambassadeur Extraordinary) บาทหลวงเดอ ซัวซีย์ (De Choisy) เป็นอุปทูต บาทหลวงกีย์ ตาชาร์ด (Guy Tachard) พร้อมทั้งเรือโท เดอ ฟอร์แบง (De Forbin) และเดอ ลามาร์ (De La Mare) วิศวกรชาวฝรั่งเศส สำหรับจุดประสงค์ที่สำคัญของคณะทูตชุดนี้คือการโน้มน้าวให้สมเด็จพระนารายณ์เสด็จเข้ารีต ส่วนเรื่องการค้าเป็นเรื่องรองลงมา แม้ว่าเดอ  โชมองต์ กราบบังคมทูลให้สมเด็จพระนารายณ์ทรงเปลี่ยนศาสนาไม่สำเร็จ แต่ไทยและฝรั่งเศสได้ทำสนธิสัญญาการค้าและสนธิสัญญาเกี่ยวกับศาสนา ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ เมืองลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ.๒๒๒๘

พระนารายณ์-01.png

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี

สภาพที่ปรากฏในปัจจุบัน

พระนารายณ์-02.png

พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท

ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์

               เมื่อเดอ โชมองต์เดินทางกลับฝรั่งเศสใน พ.ศ. ๒๒๒๘ สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้ส่งคณะราชทูตไทยพร้อมเครื่องบรรณาการชนิดดีที่สุดไปเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ เพื่อดำเนินการเจรจาทำสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีและการค้ากับฝรั่งเศสตามที่ เดอ โชมองต์ ได้สัญญาไว้ คณะราชทูตไทยชุดนี้ประกอบด้วยออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน) เป็นราชทูต ออกหลวงกัลยาราชไมตรีเป็นอุปทูต ออกขุนศรีวิศาลวาจาเป็นตรีทูต

ปาลู3.jpg
ปาน.jpg
ปาน01.jpg

ออกพระวิสุทธสุนทร (ปาน)

ทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์031 (1).png

ออกหลวงกัลยาราชไมตรี

ออกขุนศรีวิศาลวาจา

ทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์031 (2).png

ภาพขบวนแห่พระราชสาส์นของคณะราชทูตไทยที่อัญเชิญ

ไปทูลเกล้าฯ ถวายแด่พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวร์ซายส์ เมื่อ พ.ศ.๒๒๒๙

คณะราชทูตไทยเข้าเฝ้าพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ณ พระราชวังแวร์ซายส์

            คณะทูตไทยเดินทางกลับอยุธยาเมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ.๒๒๒๙ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ โปรดให้คณะราชทูตของฝรั่งเศสชุดที่สอง เมอซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์  (Monsieur de la Loubère) หัวหน้าคณะ และโคลด เซเบเรต์ เดอ บุลเล (Claude Céberet de Boullay) ผู้เชี่ยวชาญในด้านการค้า พร้อมด้วยบาทหลวงตาชาร์ด และกองทหารฝรั่งเศสจำนวน ๖๓๖ คน ซึ่งมีเมอซิเออร์ เดซ์ฟาร์ช (Monsieur Desfarges) ผู้บัญชาการกองทหารร่วมเดินทางเข้ามาเจริญพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา เดอ ลาลูแบร์  และเมอซิเออร์ เซเบเรต์ ในฐานะผู้แทนพระองค์วิสามัญ (Envoyé Extraordinary) รับหน้าที่เจรจาแก้ไขสนธิสัญญาการค้ากับไทยที่เอื้อประโยชน์แก่การค้าของฝรั่งเศสในไทย  และเชื่อมโยงการค้าในไทยกับการค้าของฝรั่งเศสที่เมืองมัทราสในอินเดียด้วย  ในที่สุดได้มีการลงนามในสนธิสัญญาการค้าฉบับใหม่ที่เมืองลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๒๓๐ สนธิสัญญาฉบับนี้ได้ให้สิทธิพิเศษในด้านการค้าแก่บริษัทอินเดียตะวันออกของฝรั่งเศส โดยฝ่ายไทยยกที่ดินให้บริษัทเพื่อสร้างโรงเก็บสินค้า และจะยกเกาะหน้าเมืองมะริดให้แก่ฝรั่งเศสอีกด้วย

เดอลาลูแบร์01.png

เมอซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์

 (Monsieur de la Loubere)

coin02.png
coin-101.png

เหรียญที่ระลึกในวาระที่คณะราชทูตไทยเดินทางไปเจริญพระราชไมตรีกับพระราชสำนักฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.๒๒๒๙

                ภายหลังจากเดอ ลาลูแบร์เดินทางกลับฝรั่งเศส สมเด็จพระนารายณ์ได้ทรงแต่งตั้งบาทหลวงตาชาร์ด พร้อมด้วยขุนนางไทย ๓ คน คือ ออกขุนวิเศษ ออกขุนชำนาญ และหมื่นพิพิธ เป็นผู้แทนพิเศษอัญเชิญพระราชสาส์นไปทูลเกล้าฯ ถวาย พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และสมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ ๑๑ แห่งกรุงโรม ในขณะเดียวกัน ฟอลคอนก็มีศุภอักษร ไปทูลเกล้าฯ ถวายพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ และสมเด็จพระสันตะปาปาด้วย

pere-tachard303.png

บาทหลวงกีย์  ตาชาร์ด

(Guy Tachard)
 

โป็ปอินโนเซนต์201.png
0013.png

เหรียญที่ระลึกในโอกาศที่คณะราชทูตไทยเข้าเฝ้าสมเด็จพระสันตปาปาอินโนเซนท์ ที่ ๑๑ เมื่อ ๒๘ ธันวาคม ๒๒๓๑

                ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและฝรั่งเศสดำเนินไปได้ด้วยดีตลอดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ แต่เมื่อสมเด็จพระเพทราชาขึ้นครองราชย์ได้ทรงทำลายอำนาจและอิทธิพลของฝรั่งเศส ทำให้ความสัมพันธ์ต้องหยุดชะงักไปถึง ๑๕ ปี แม้มีการฟื้นฟูอีกครั้งหนึ่งในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเสือ (พ.ศ.๒๒๔๖ - ๒๒๕๑) แต่ฝรั่งเศสก็ไม่เต็มใจที่จะส่งเสริมความสัมพันธ์ให้ดีขึ้น อีกทั้งฝรั่งเศสต้องทำศึกสงครามทางยุโรป ดังนั้นความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจึงไม่มีการฟื้นฟูขึ้นอีกจนถึงการล่มสลายของกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ.๒๓๑๐

เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ ( Constantine Phaulkon)

                เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ เดิมชื่อว่า คอนสแตนติน เยรากี (Constantine Gerakia, Jerakis) เป็นชาวกรีก  เกิดเมื่อ พ.ศ.๒๑๙๐ ที่หมู่บ้านคัสโตด (Custode) บนเกาะเซฟาโลเนีย (Cephalonia) ในประเทศกรีซ  ฟอลคอนเป็นคนมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง  สามารถพูดได้ถึง ๕ ภาษา คือ กรีก อังกฤษ โปรตุเกส มลายู และไทย  นอกจากนี้ยังเรียนรู้วิชาการเดินเรือ และการค้าขาย  ต่อมาเข้ารับราชการในกรมพระคลังสินค้าไทยโดยการสนับสนุนของออกญาโกษาธิบดี (เหล็ก) ฟอลคอน (Phaulkon) เคยทำงานกับบริษัทการค้าของอังกฤษ รู้จักวิธีค้าขายกับชาวต่างชาติเป็นอย่างดี  จึงมีความดีความชอบและเป็นที่ไว้วางใจในด้านการค้ากับต่างประเทศ ต่อมาฟอลคอนเป็นที่โปรดปรานของสมเด็จพระนารายณ์จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น  “เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์”

vichayen204.png

เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์
(คอนสแตนติน ฟอลคอน, Constantine Phaulkon)

ตราฟอลคอน-(1)_201.png
ตราฟอลคอน01.png

ตราประทับของเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์

เป็นรูปนกเหยี่ยว ซึ่งใช้ประทับปิดผนึกจดหมาย

ตราประทับของเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ 

มีรูปไม้กางเขนอยู่บนจั่วของอาคาร

                คอนสแตนติน ฟอลคอน (Constantine Phaulkon) เป็นบุคคลที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมการค้าขายระหว่างกรุงศรีอยุธยากับต่างประเทศ และการเจริญพระราชไมตรีกับนานาประเทศ ฟอลคอนนำประสบการณ์ด้านการค้าทางทะเลมาใช้ในการพัฒนาการค้าของไทย  ทำให้การค้าของไทยเจริญก้าวหน้า แต่ขัดผลประโยชน์กับบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษและฮอลันดา ฟอลคอนได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนารายณ์ให้ตั้งเมืองมะริด (Mergui) ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญของราชอาณาจักรอยุธยา เป็นสถานีการค้าของหลวง และสร้างป้อมประจำท่าเหมือนกับสถานีการค้าขายของชาติตะวันตก ฟอลคอนสร้างรายได้ให้แก่ท้องพระคลังไทยอย่างมหาศาล ด้วยวิธีผูกขาดการค้า และสินค้าสำคัญ เช่น พริกไทย ไม้หอม หนังสัตว์ เขาสัตว์ และของป่า

                ภายหลังจากวิกฤตการณ์ฮอลันดา สมเด็จพระนารายณ์ทรงมีพระราชดำริที่สร้างป้อมปราการขึ้นตามลำน้ำเจ้าพระยาเพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก พระองค์โปรดให้ฟอลคอนเป็นแม่กองในการควบคุมการก่อสร้างป้อมที่เมืองบางกอก เมื่อสร้างเสร็จจึงพระราชทานชื่อว่า “ป้อมวิไชยเยนทร์”

                ในด้านความสัมพันธ์ระหว่างไทยและฝรั่งเศสในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ กล่าวได้ว่าฟอลคอนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการติดต่อกับพระราชสำนักของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ฝรั่งเศสไว้ใจฟอลคอนว่าจะสามารถช่วยเหลือฝรั่งเศสให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งด้านศาสนาและด้านการค้า ส่วนสมเด็จพระนารายณ์ก็ทรง

ไว้วางพระทัยและโปรดปรานฟอลคอนมาก  ใน พ.ศ.๒๒๒๕ สมเด็จพระนารายณ์โปรดให้ฟอลคอนทำหน้าที่เป็นล่ามระหว่างพระองค์กับสังฆราชปาลลูในพิธีถวายพระราชสาสน์ ต่อมาฟอลคอนได้เลื่อนฐานะเป็นผู้ต้อนรับคณะทูตเป็นผู้แทนฝ่ายไทยในการเจรจาความเมืองกับคณะราชทูต เดอ โชมองต์ และคณะราชทูตเดอ ลาลูแบร์  นอกจากนั้นฟอลคอนยังเป็นผู้นำทหารฝรั่งเศสเข้ามาเป็นทหารรักษาพระองค์แทนทหารอิหร่าน และให้ทหารฝรั่งเศสมาประจำการที่ป้อมบางกอกเพื่อควบคุมขุนนางไทยไม่ให้ก่อการกบฏ สมเด็จพระนารายณ์ทรงวางพระทัยให้ฟอลคอนปกครองทั่วราชอาณาจักรด้วยอำนาจสิทธิ์ขาด ฟอลคอนจึงทะเยอทะยานที่จะแผ่อำนาจและอิทธิพลแสวงหาความร่ำรวย พยายามชักจูงฝรั่งเศสให้แสวงหาอำนาจทางการเมืองในกรุงศรีอยุธยา วางแผนยึดครองกรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้น ในขณะเดียวกัน ฟอลคอนก็อาศัยอิทธิพลของฝรั่งเศสเป็นเครื่องเสริมสร้างและสนับสนุนอำนาจของตนเอง ซึ่งเป็นผลให้พระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางชั้นผู้ใหญ่ไม่พอใจ

the-european-building-that-chao-phraya-v

สภาพตึกฝรั่ง ที่พำนักของเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์

วัดซาก01.png

ซากของพระปรางค์ที่วัดซาก  
 

              ภายหลังการปฎิวัติของสมเด็จพระเพทราชา ใน พ.ศ.๒๒๓๑ กองทหารฝรั่งเศสยินยอมถอนทหารออกนอกราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับประโยชน์ใด ๆ  ทั้งยังต้องสูญเสียเงินทองและทหารไปเป็นจำนวนมาก คอนสแตนติน ฟอลคอน หรือ เจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ ถูกจับประหารชีวิตเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน พ.ศ.๒๒๓๑ ณ วัดซากข้างทะเลชุบศร  เมืองลพบุรี

 ป้อมวิไชยเยนทร์

                 ในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์  กรุงศรีอยุธยามีความขัดแย้งเรื่องการค้ากับชาวฮอลันดามากจนเกรงว่าฮอลันดาจะยกทัพเรือขึ้นมาตามลำน้ำเจ้าพระยาจนถึงกรุงศรีอยุธยาได้ จึงโปรดให้เจ้าพระยาวิไชเยนทร์  หรือคอนสแตนติน ฟอลคอน เป็นแม่กองสร้างป้อมที่เมืองบางกอกขึ้น โดยสร้างป้อมอิฐสี่เหลี่ยมขนาดเล็กอยู่สองฟากแม่น้ำ แล้วทำโซ่ขึงขวางถึงกัน ระยะเวลาในการสร้างป้อมไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างเมื่อใด แต่น่าจะสร้างขึ้นก่อน พ.ศ. ๒๒๒๓

vichayen-fort202.png
de-chaumont202.png

ภาพวาดป้อมวิไชยเยนทร์ (ป้อมเมืองบางกอกฝั่งตะวันตก)

เชอวาลิเอร์ เดอ ฟอร์แบง

(Chevalier De Forbin)

                 ต่อมาใน พ.ศ.๒๒๒๘ เชอวาลิเอร์ เดอ โชมองต์ ราชทูตฝรั่งเศสพร้อมคณะบาทหลวงได้เดินทางมาเจริญพระราชไมตรีกับกรุงศรีอยุธยา ระหว่างการเดินทางได้พักค้างคืนที่ป้อมเมืองบางกอกฝั่งตะวันตกและได้มีการปรึกษาหารือกับฝ่ายไทยเรื่องการสร้างป้อมที่เมืองบางกอกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น  โดยจะเริ่มก่อสร้างจากป้อมทางฝั่งตะวันออกก่อน เรือโท เดอ ฟอร์แบง (De Forbin) นายทหาร และเดอ ลามาร์ วิศวกรชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างด้วย  ป้อมทางฝั่งตะวันออกสร้างเสร็จในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.๒๒๓๑ ส่วนป้อมทางฝั่งตะวันตกนั้นเข้าใจว่าน่าจะมีการซ่อมแซมปรับปรุงในคราวเดียวกัน
               เดิมป้อมเมืองบางกอกฝั่งตะวันตกนี้มีทหารโปรตุเกสประจำ ๒ กอง ๆ ละ ๔๐ นาย และทหารพื้นเมือง ๔๐ นาย ต่อมาสมเด็จพระนารายณ์โปรดให้ เดอ ฟอร์แบง เป็นเจ้าเมืองบางกอกและบังคับบัญชาการป้อมฝั่งตะวันตก มีหน้าที่เกณฑ์ทหารไทยให้ได้ ๒,๐๐๐ นายเพื่อฝึกตามยุทธวิธีของฝรั่งเศส หัดให้รู้จักยืนตรง ถืออาวุธ (เดิมแม้ทหารยามก็นั่งกับพื้น) แสดงให้เห็นว่าสมเด็จพระนารายณ์ทรงพยายามที่จะจัดกองทัพไทยให้เป็นกรมกอง มีการฝึกและมีวินัยเหมือนกองทัพในประเทศตะวันตก
 

กบฏมักกะสัน201.png
painting-image201.png

ภาพวาดกบฏมักกะสันที่ป้อมเมืองบางกอก

(ศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา

จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)

ภาพเขียนสีแสดงกองกำลังของสมเด็จพระเพทราชาปิดล้อมป้อมเมืองบางกอกฝั่งตะวันออกที่มีกองทหารฝรั่งเศสประจำการอยู่ เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๑

กริช01.png

               ในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มีความขัดแย้งทางการเมืองในพระราชสำนัก โดยเฉพาะความขัดแย้งระหว่างเจ้านายกับขุนนาง ความขัดแย้งดังกล่าว ทำให้เกิด “กบฏมักกะสัน” ขึ้นทั้งที่อยุธยาและเมืองบางกอก กบฏมักกะสันเป็นกลุ่มกบฏชาวมุสลิมประมาณ ๓๐๐ คน ตั้งบ้านเรือนอยู่ย่านคลองตะเคียน นอกพระนครศรีอยุธยา ได้สมคบกับเจ้านายไทยกลุ่มอื่น ๆ ก่อกบฏขึ้น แล้วถูกปราบปรามจนต้องลงเรือหนีทางแม่น้ำผ่านไปทางบางกอก เมื่อถูกสกัดกั้นจากกองทหารฝรั่งเศสที่รักษาเมือง พวกทหารไทยไม่พอใจที่เดอ ฟอร์แบง 

กริซ

เป็นเจ้าเมืองบางกอกและเป็นผู้บัญชาการป้อมเลยผสมโรงกับพวกแขกมักกะสันก่อความวุ่นวายทั่วเมืองธนบุรี ทั้ง ๆ ที่มีอาวุธประจำตัวเพียงอย่างเดียวคือ กริช

             เดอ ฟอร์แบง ได้รับคำสั่งให้จับกุมพวกกบฏ แต่พวกกบฏขัดขืนและต่อสู้อย่างกล้าหาญ การปราบกบฏครั้งนั้นมีความยากลำบากมาก ต้องใช้เวลานานเกือบหนึ่งเดือนจึงสามารถปราบได้หมด ทหารฝรั่งเศสและราษฎรเสียชีวิตหลายคน และกรุงศรีอยุธยาเกือบจะต้องเสียป้อมไปในการสู้รบครั้งนั้น 

               ต่อมาใน พ.ศ.๒๒๓๐ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ ได้ส่งคณะราชทูตอีกชุดมาเจริญพระราชไมตรีกับไทย โดยเดอ ลาลูแบร์ ผู้แทนพระองค์วิสามัญ เดินทางมาพร้อมกับกองทหาร ฝรั่งเศสจำนวน ๖๓๖ นาย มี เมอซิเออร์ เดซ์ฟาร์ช เป็นผู้บังคับบัญชา สมเด็จพระนารายณ์ทรงยกป้อมเมืองบางกอกทั้งสองฝั่งให้กองทหารฝรั่งเศสดูแล แต่ยังคงให้มีทหารไทยประจำการอยู่ด้วย เป็นการแสดงพลังตามพระราชประสงค์ที่จะให้ฝรั่งเศสถ่วงดุลอำนาจของฮอลันดาและอังกฤษเมื่อสมเด็จพระเพทราชาเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ.๒๒๓๑ ไม่มีพระราชประสงค์จะให้มีทหารฝรั่งเศสอยู่ในราชอาณาจักร จึงทรงให้ขับไล่ทหารฝรั่งเศสออกจากป้อมเมืองบางกอก ทำให้เกิดการสู้รบขึ้น ป้อมบางกอกฝั่งตะวันออกได้รับความเสียหายมากจนต้องรื้อลง คงเหลือแต่ป้อมฝั่งตะวันตก

phraya-tak201.png

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ป้อมวิไชยเยนทร์01.png

ป้อมวิไชยเยนทร์ หรือป้อมวิไชยประสิทธิ์ในปัจจุบัน

              ภายหลังการเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.๒๓๑๐ พระยาตากรวบรวมไพร่พลที่จันทบุรี แล้วยกกองทัพทางเรือเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยา โจมตีพม่าที่ป้อมวิไชยเยนทร์ ยึดเมืองธนบุรีได้แล้ว จึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยา เข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจนราบคาบโดยที่พม่าไม่ทันรู้ตัว สามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมาเมื่อวันศุกร์ ที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๓๑๐  หลังจากการปราบดาภิเษก สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเลือกกรุงธนบุรีเป็นราชธานีและทรงสร้างพระราชวังขึ้นในบริเวณป้อมวิไชยเยนทร์ พร้อมทั้งปรับปรุงป้อมให้อยู่ในสภาพดีขึ้นแล้วพระราชทานชื่อใหม่ว่า“ป้อมวิไชยประสิทธิ์”

bottom of page