top of page

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

รัชกาลที่9-1.png

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

ด้านการเมื่อง.png

ด้านการเมือง

         ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างไทยกับฝรั่งเศสดำเนินไปอย่างราบรื่น ทั้งสองฝ่ายมีการแลกเปลี่ยนเยี่ยมเยือนกันในระดับต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ ทั้งระดับพระราชวงศ์ ผู้นำประเทศ ราชการ และเอกชน ปัจจุบันได้ยกระดับความสัมพันธ์เป็น “หุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์” โดยมีแผนปฏิบัติการร่วมไทยกับฝรั่งเศส  ฉบับที่ ๑ พ.ศ.๒๔๔๗ - ๒๕๕๑ และฉบับที่ ๒ พ.ศ.๒๕๕๓ - ๒๕๕๗ เป็นกลไกที่สำคัญ 

2_edited_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited_edited.png

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมราชินีนาภ
พร้อมทั้งพระราชวงศ์ พระราชทานเลียงพระกระยาหารค่ำ
แด่นาย ฌาคร์ ซีรัค และภริยา 
ณ พระที่นั่งจักรีมหารปราสาท

ด้านวิทยาศาสตร์.png

ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

          ภายใต้แผนการปฏิบัติการร่วมไทย – ฝรั่งเศส ฝรั่งเศสฝึกอบรมบุคลากรของไทยในด้านเทคโนโลยีชั้นสูง อาทิเช่น นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์ ความปลอดภัยของอาหารและการใช้พลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ นอกจากนั้นทั้งสองฝ่ายยังมีความร่วมมือกันในด้านเทคโนโลยีอวกาศโดยมีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Geo-Informatics and Space Technology Development Agency - GISTDA) กับบริษัทอีเอดีเอส แอสเตรียม (EADS-ASTRIUM) ของฝรั่งเศส พระราชทานชื่อภาษาไทยว่า “ดาวเทียมไทยโชติ” เป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรดวงแรกของไทยขึ้นสู่วงโคจรเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๑ 

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จ
พระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์อาคารสถาบันนวัตกรรม
เทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๓

ด้านการศึกษา02.png

ด้านการศึกษา

         ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๑๘ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้ทุนแก่นักศึกษาไทยในรูปแบบต่างๆ ทั้งในระดับปริญญาโทและเอก รวมถึงทุนฝึกอบรมระยะสั้นและทุนดูงานตามคำขอของหน่วยงาน  อีกทั้งยังให้ทุนฝึกอบรมประจำปีแก่ครูไทยที่สอนภาษาฝรั่งเศสและนักเรียนไทยที่เรียนภาษาฝรั่งเศส จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาฝึกอบรมให้แก่ศึกษานิเทศก์และครูสอนภาษาฝรั่งเศสในประเทศไทยเป็นประจำทุกปี ทั้งยังสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางวิชาการและการจัดซื้ออุปกรณ์การเรียนการสอนแก่กระทรวงศึกษาธิการด้วย

การลงนามความร่วมมือว่าด้วยการให้ทุนการศึษา
ด้านภาษาฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๑๗ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๗

ด้านวัฒนธรรม02.png

พระพุทธรูปปางนาคปรก

ธรรมจักร

 ศิลปะทวารวดีตอนกลาง

พุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔

ด้านศิลปวัฒนธรรม

       ไทยและฝรั่งเศสมีการแลกเปลี่ยนการจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมเพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้าใจและความใกล้ชิดระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ โดยฝ่ายฝรั่งเศสได้ริเริ่มจัดงานเทศกาลวัฒนธรรมฝรั่งเศส-ไทย (La Fête) ขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อปี ๒๕๔๗ ฝ่ายสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีสได้จัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมอย่างต่อเนื่องเป็นระยะหลายปี

ด้านการค้า01.png

สินค้าที่ไทยส่งออกมายังฝรั่งเศส

ด้านการค้า

         ฝรั่งเศสถือเป็นคู่ค้าสำคัญลำดับที่ ๔ ของไทยในกลุ่มประเทศอียู (รองจากเยอรมนี สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์) สินค้าส่งออกสำคัญได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องปรับอากาศ ส่วนประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบอัญมณีและเครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์ยาง เลนซ์ อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว ส่วนสินค้าที่ไทยนำเข้าจากฝรั่งเศสได้แก่ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์จากพืช ปัจจุบันมีบริษัทของฝรั่งเศสประมาณ ๓๕๐ บริษัทลงทุนในไทย นอกจากนั้นภาคเอกชนฝรั่งเศสยังเข้าร่วมลงทุนในโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของไทย ส่วนการลงทุนของไทยในฝรั่งเศส เช่น การลงทุนในธุรกิจอาหารทะเลกระป๋อง ธุรกิจในด้านการผลิตพลาสติกที่มีบทบาทสำคัญในยุโรปและเอเชีย

ไดโนเสา-02.png

ด้านโบราณคดี

         ความร่วมมือไทย-ฝรั่งเศสในการสำรวจและขุดค้นทางด้านโบราณชีววิทยา จากการพบกระดูกไดโนเสาร์ที่ภูเวียง จังหวัดขอนแก่นในปี พ.ศ.๒๕๑๙ โดยนายสุธรรม แย้มนิยม นักวิชาการจากโครงการสำรวจแร่ยูเรเนียม กรมทรัพยากรธรณี กระตุ้นให้นักโบราณชีววิทยาชาวฝรั่งเศสสนใจ  ในปี พ.ศ.๒๕๒๓ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ส่งคณะสำรวจเข้ามาร่วมมือกับคณะสำรวจของไทยจัดตั้งเป็นคณะสำรวจโบราณชีววิทยาไทย - ฝรั่งเศส และได้เริ่มทำการเก็บซากดึกดำบรรพ์ของสัตว์มีกระดูกสันหลังในที่ต่าง ๆ ทั้งภาคอีสานและภาคเหนือ

      

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

เสด็จทอดพระเนตรซากไดโนเสาร์

ด้านการเกษตร02.png

การศึกษาในโครงการพัฒนาความสามารถ
และความยั่งยืนของระบบการเพาะปลูก
ที่มี “ฝ้าย” เป็นพื้นฐาน

การเกษตร-ดิน02.png

Soil respiration experiment
กิจกรรมภายใต้ความร่วมมือ
ทางวิชาการไทย – ฝรั่งเศส ปี พ.ศ.๒๕๕๒

ด้านการเกษตรศาสตร์

          รัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตร โดยให้ความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๒ ในระยะแรกมุ่งเน้นการศึกษาวิจัยระบบเกษตรกรรมและให้การฝึกอบรมขั้นสูง เพื่อให้มีความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและความหลากหลายของระบบเกษตรกรรมในบริเวณภาคตะวันตกและที่ราบลุ่มแม่น้ำแม่กลอง

         ในระยะต่อมา ได้มีการจัดลำดับขั้นตอนการดำเนินงานความร่วมมือทางวิชาการระหว่างไทยกับฝรั่งเศส ใน ระยะที่ ๑ และ ๒ ของการทำงาน (พ.ศ.๒๕๓๔ -๒๕๓๙) เน้นเกี่ยวกับการปลูกฝ้ายและการจัดระบบน้ำ ระยะที่ ๓ (พ.ศ.๒๕๔๐ - ๒๕๔๓) เตรียมความพร้อมในการจัดตั้งศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบการเกษตรในสาขาพืช และการจัดระบบนิเวศเกษตรเป็นการพัฒนาสู่การเป็นศูนย์กลางเครือข่ายความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมให้ก้าวหน้าและมีประสิทธิภาพ ในระยะที่ ๔  (พ.ศ.๒๕๔๒ - ๒๕๔๖) มีการตั้ง ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาระบบเกษตรกรรม (Development Oriental Research on Agricultural System (DORAS) Center) ระยะที่ ๕ (พ.ศ.๒๕๔๖ - ๒๖๔๙) เป็นโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพยางพารา (Towards the Improvement of the Rubber Tree Productivity)

โลหิต01.png

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนิน
เปิดอาคารศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ

โลหิต02.png

เครื่องมือเครื่องใช้ชุดแรกที่รัฐบาลฝรั่งเศสมอบให้แก่
ศูนย์บริจาคโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย
อาทิ เครื่องล้างขวดโลหิตที่ใช้แล้ว หม้อนึ่งฆ่าเชื้อโรค เครื่องทำน้ำบริสุทธ์

ด้านการจัดตั้งศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

         สภากาชาดไทยได้ก่อตั้งแผนกบริการโลหิตอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๙๕  ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๐๘ รัฐบาลฝรั่งเศสได้ให้ความช่วยเหลือในการปรับปรุงและจัดตั้งเป็นศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ ส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเหลือและแนะนำการปฏิบัติงาน พร้อมทั้งมอบรถรับบริจาคโลหิตเคลื่อนที่ รวมทั้งให้ทุนเจ้าหน้าที่ของศูนย์ฯ ไปศึกษาและดูงาน ณ ประเทศฝรั่งเศส  

        ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติยังได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลฝรั่งเศสโดยการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยวางระบบคอมพิวเตอร์สำหรับงานบริการโลหิต ทำให้มีความคล่องตัวในการดำเนินงาน ซึ่งต่อมาทางศูนย์บริการโลหิตได้นำมาพัฒนาต่อเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ AS 400  

        ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ สภากาชาดฝรั่งเศสได้ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่องานบริการโลหิตอย่างเต็มระบบ (IS - BTS) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานของศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ และภาคบริการโลหิตแห่งชาติทั้ง ๑๒ แห่งทั่วประเทศ ทั้งยังเป็นการเชื่อมโยงฐานข้อมูลของระบบผู้บริจาคโลหิต มีโปรแกรมระบบรับบริจาคเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดโลหิต (Stem cell) นอกจากนั้นยังมีระบบ Logistic ที่จำเป็น ทำให้การปฏิบัติงานมีความคล่องตัว รวดเร็ว และเป็นการยกระดับมาตรฐานงานบริการโลหิตของประเทศไทยสู่ความเป็นสากล

ลุ่มน้ำ01.png

การลงนามความร่วมมือโครงการอนุรักษ์
พื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่งทะเลอันดามัน
หน่วยงานของไทยและฝรั่งเศส

เต๋า02.png

เกาะแปด หรือเกาะสิมิลัน เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด
ในหมู่เกาะสิมิลัน มีอ่าวเป็นรูปโค้งเหมือนเกือกม้า
และเป็นจุดดำน้ำที่สวยงามเพราะใต้ทะเลอุดม
สมบูรณ์ไปด้วยแนวปะการัง มีปลาเล็กปลาน้อย

โครงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่งทะเลอันดามัน               

         โครงการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำและชายฝั่งทะเลอันดามันเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชนของทั้งไทยและฝรั่งเศส ใช้ชื่อโครงการว่า “โครงการสร้างความเข้มแข็งแก่เครือข่ายทำงานในพื้นที่อนุรักษ์ทะเลและชายฝั่งอันดามัน” (The Strengthening Andaman Marine Protected Areas Network  : SAMPAN) 

         เป้าหมายของโครงการครอบคลุมพื้นที่หมู่เกาะสำคัญของเมืองไทย ได้แก่ หมู่เกาะสิมิลัน หมู่เกาะสุรินทร์ และหมู่เกาะลันตา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม “สามอัญมณีแห่งทะเลอันดามัน” โครงการนี้จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือของหน่วยงานทุกภาคส่วนในพื้นที่โครงการ ได้แก่ เจ้าหน้าที่อุทยาน นักท่องเที่ยว ชาวบ้านและหน่วยราชการท้องถิ่นในจังหวัดพังงา และกระบี่ โดยการประสานความร่วมมือของหน่วยงานหลักได้แก่ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature and Natural Resources หรือ World Conservative Union : IUCN) สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนา (Institute de Recherché pour le Developpment : IRD) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และองค์การยูเนสโก (Unesco)

         โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นเพื่อพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวในเขตอุทยานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งเน้นปรับปรุงการบริหารจัดการ การดูแลพื้นที่และพยายามลดผลกระทบจากการท่องเที่ยว นอกจากนี้ยังมีการประสานขอความร่วมมือไปยังผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในท้องถิ่นให้เข้ามาร่วมโครงการนี้อีกด้วย ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการธุรกิจการท่องเที่ยวเป็นไปอย่างยั่งยืนและไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ

ด้านสังคม

        มูลนิธิฝรั่งเศสไทยเพื่อสาธารณประโยชน์

         ภายหลังจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยคลื่นยักษ์สึนามิทางภาคใต้ของประเทศไทยเมื่อ ๒๖ ธันวาคม ๒๕๔๗ ได้มีการรวมตัวของชาวฝรั่งเศสที่พำนักอยู่ในประเทศไทยในขณะนั้นจัดตั้งสมาคมขึ้นภายใต้กฎหมายฝรั่งเศส และแต่งตั้งคณะกรรมการที่เรียกว่า “คณะกรรมการฝรั่งเศส-ไทย เพื่อสาธารณะประโยชน์ หรือ “Comité de Solidarité Franco-Thai”  ซึ่งประกอบด้วยชาวฝรั่งเศสที่พำนักในประเทศไทย เพื่อระดมทุน สรรพกำลัง ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิต สุขอนามัย การศึกษา และอาชีพของผู้ประสบภัย รวมถึงฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่ได้รับผลกระทบให้กลับมางดงามดังเดิม โดยแบ่งเป็นโครงการต่าง ๆ 

        มีการดำเนินงานเพื่อสาธารณประโยชน์อื่น ๆ  สมาคมฝรั่งเศส - ไทยเพื่อสาธารณะประโยชน์ได้ดำเนินงานด้านสาธารณประโยชน์ด้านอื่น ๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง ทั้งด้านการศึกษา มนุษยธรรม ด้านสาธารณสุขและคุณภาพชีวิต นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยสนับสนุนงานบูรณะโบราณสถานในค่ายตากสิน โดยได้ร่วมจัดกิจกรรมหารายได้เพื่องานบูรณะ การดำเนินงานทั้งหมดก็เพื่อเสริมสร้างความสามัคคีและความเข้าใจอันดีระหว่างพลเมืองของสาธารณรัฐฝรั่งเศสและราชอาณาจักรไทย

สังคม01.png

การลงนามในข้อตกลงระหว่างมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม และสมาคมฝรั่งเศส-ไทย
เพื่อสาธารณะประโยชน์ในการร่วมบูรณะโบราณสถาน
ในค่ายตากสิน จังหวัดจันทบุรี

สังคม02.png

นายเฟดเดอริก ฟาฟว์ (Fédéric Favre) แห่งสมาคม
ฝรั่งเศส-ไทย เพื่อสาธารณประโยชน์มอบเงินบริจาค
ของชาวฝรั่งเศสแก่คุณหญิง นงนุช ศิริเดช
รองประธานมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม

bottom of page