top of page
2_edited_edited_edited_edited.png

                รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคสมัยที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองในทุก ๆ ด้าน ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นคุณประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยนานับประการ ส่งผลให้บ้านเมืองเกิดความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ สรุปได้ดังนี้

 
ด้านการปกครอง

                 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นลำดับตามสถานการณ์และความเหมาะสม  โดยใน พ.ศ. ๒๔๑๗ ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาองคมนตรี (Privy Council) ขึ้นเป็นสภาที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำรูปแบบการปกครองแบบตะวันตกมาใช้ ใน พ.ศ.๒๔๓๑ ทรงประกาศยกเลิกระบบจตุสดมภ์และมีพระบรมราชโองการตั้งกระทรวง ๑๒ กระทรวงขึ้นเพื่อจัดระบบบริหารราชการแผ่นดินให้มีความชัดเจนและเหมาะสม และในปลายรัชสมัยทรงปรับปรุงเหลือ ๑๐ กระทรวง 

               สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น  โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกเลิกการปกครองที่เรียกว่า “ระบบกินเมือง” มาเป็น “ระบบเทศาภิบาล” แบ่งการปกครองเป็นมณฑล เมืองและอำเภอ โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยเพื่อเป็นการเชื่อมโยงอำนาจการบริหารปกครองเข้าสู่ส่วนกลาง  โดยโปรดให้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๓๗

 
ด้านเศรษฐกิจและการคลัง

              พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ.๒๔๑๖ โปรดให้สร้างหอรัษฎากรพิพัฒน์ ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ของแผ่นดินมารวมไว้แห่งเดียวกัน ภายหลังยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงกำหนดอัตราภาษีอากรให้เสมอภาคกัน มีการจัดงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๓๖ เพื่อแยกงบประมาณแผ่นดินและเงินส่วนพระองค์ออกจากกันเด็ดขาด โปรดให้จัดตั้งธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๔๙ ในนาม “บริษัทสยามกัมมาจล” (ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์)  

             หลังจากที่เสด็จพระราชดำเนินกลับจากการประพาสยุโรปครั้งแรก ได้โปรดให้นำระบบทศนิยมเข้ามาใช้เป็นครั้งแรกในระบบเงินตราของไทย และเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก ใน พ.ศ.๒๔๑๗ โปรดให้ผลิตธนบัตรขนาด ๑ อัฐ ขึ้นใช้เป็นการชั่วคราวประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วงในการชำระหนี้เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ และใน พ.ศ.๒๔๕๒ ทรงปรับปรุงหน่วยเงินปลีกโดยรวมเข้าด้วยกัน และตั้งเป็นหน่วยเงินตราขึ้นใหม่ในระบบทศนิยมเรียกว่า “สตางค์” 

 
ด้านกฎหมายและการศาล

                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและการศาลให้ทันสมัยเพื่อแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ไทยต้องเสียเปรียบชาติตะวันตก ทรงตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๔ เพื่อปรับปรุงระเบียบการศาลให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรและโปรดให้ตั้งศาลโปริสภา (ศาลแขวงในปัจจุบัน) และศาลหัวเมืองโดยเริ่มที่มณฑล  กรุงเก่าเป็นแห่งแรกใน พ.ศ.๒๔๓๙ ใน พ.ศ.๒๔๔๐ ทรงสถาปนาโรงเรียนสอนกฎหมาย และโปรดให้มีการชำระพระราชกำหนดกฎหมายตลอดจนตราประมวลกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อให้มีความทันสมัยและทัดเทียมกับนานาประเทศ รวมทั้งมีการส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชากฎหมายในทวีปยุโรป พร้อมทั้งมีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ เป็นฉบับแรก

สตางค์

พดด้วง01.png

เงินพดด้วง

เงิน01.png

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ทรงไว้พระเกศารองทรงและทรงฉลองพระองค์

ชุดราชประแตนและโจงกระเบน

ด้านกฎหมาย01.png
ด้านกฎหมาย002.png

         นอกจากนี้พระองค์ยังทรงว่าจ้างชาวต่างชาติเข้ามารับราชการหลายคนด้วยกัน ที่สำคัญได้แก่ นายกุสตาฟ โรแลง ฌาคเกอแมงส์ (Gustave Rolin-Jaequemyns) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศชาวเบลเยี่ยมเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๗ - ๒๔๔๖ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ กับ นายเอ็ดเวิร์ด เฮนรี่ สโตรเบล (Edward Henry Strobel) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศและการทูตผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน รับราชการสืบต่อจากนายฌาคเกอแมงส์ (ระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๖ - ๒๔๕๑) ทั้งสองท่านได้มีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาในการร่างสนธิสัญญาต่าง ๆ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจนสามารถบรรลุข้อตกลงได้

กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗

พระยาราชอภัย022.png

นายกุสตาฟ โรแลง ฌาคเกอแมงส์

เอ็ดเวิร์ด_สโครเบล022.png

นายเอ็ดเวิร์ด เฮนรี่ สโตรเบล

 

ด้านการต่างประเทศ

        ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการเจริญพระราชไมตรีและการทูตกับต่างประเทศมากกว่าในรัชกาลที่ผ่านมา ใน พ.ศ.๒๔๑๓ ได้เสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก โดยเสด็จเยือนสิงคโปร์และชวา และต่อมาใน พ.ศ.๒๔๑๔ เสด็จประพาสอินเดียและพม่า ใน พ.ศ.๒๔๔๐ และ พ.ศ.๒๔๕๐ เสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งการเสด็จประพาสต่างประเทศของพระองค์ส่งผลให้ไทยเป็นที่รู้จักของนานาประเทศ ทำให้ได้พันธมิตรเพิ่มขึ้นและหลังการเสด็จกลับได้ทรงนำแบบอย่างที่ได้รับมาพัฒนาปรับปรุงประเทศไทยให้มีความเจริญในด้านต่าง ๆ ให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงแต่งตั้งทูตไทยไปประจำยังประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา ใน พ.ศ.๒๔๒๔ ได้ทรงแต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เป็นทูตไทยคนแรกประจำราชสำนักเซนต์เจมส์แห่งอังกฤษ  และประจำประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและอเมริกา รวมถึง ๑๒ ประเทศ ก่อนได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตประจำกรุงปารีส

 

ด้านสังคม

 การศึกษา

ด้านการต่าง-ทูต02.png

พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์

วัดมหรรณพาราม01.png

วัดมหรรณพารามวรวิหาร

โรงเรียนแห่งแรกสำหรับประชน

พิพิธภัณฑสถาน01.png

พิพธภัณฑสภานแห่งชาติ

ตั้งอยู่ในบริเวณพระบรมราชวัง (วังหน้า)

         พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก โปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๔ และโปรดให้ขยายการศึกษาสู่ประชาชน โดยตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับประชาชนแห่งแรกที่วัดมหรรณพารามวรวิหารใน พ.ศ.๒๔๒๗ ตลอดรัชสมัยของพระองค์มีโรงเรียนต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิเช่น โรงเรียนหลวง โรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนสำหรับสตรี โรงเรียนฝึกหัดครู  ทรงตั้งกระทรวงธรรมการ (ซึ่งปัจจุบันคือ กระทรวงศึกษาธิการ) ขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๕ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบระบบการศึกษาของประเทศ  นับได้ว่าเป็นการจัดระบบการศึกษาครั้งแรกของประเทศ อีกทั้งทรงส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อที่จะนำความรู้กลับมาช่วยพัฒนาบ้านเมืองให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ทรงริเริ่มจัดตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนคร พิพิธภัณฑสถาน และโบราณคดีสโมสร

การเลิกทาส

ประเพณีและวัฒนธรรม

                การเลิกทาสนับเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญและเป็นพระราชประสงค์ตั้งแต่แรกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ  เนื่องจากการมีทาสเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของบ้านเมือง ใน พ.ศ.๒๔๑๗ โปรดให้ตรา “พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย” พร้อมพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อช่วยไถ่ถอนทาสบางส่วน  โปรดให้เลิกบ่อนเบี้ยซึ่งเป็นสาเหตุของการซื้อขายทาส  อีกทั้งทรงริเริ่มและขยายการศึกษาให้คนได้รู้หนังสือ
                ใน พ.ศ.๒๔๔๘ โปรดให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ กำหนดให้เลิกทาสทั่วราชอาณาจักร  พระบรมราโชบายในการเลิกทาสแบบผ่อนปรนค่อยเป็นค่อยไปทำให้จำนวนทาสลดลงตามลำดับ และเลิกระบบทาสได้สำเร็จโดยปราศจากความวุ่นวาย รวมเวลาทั้งสิ้น ๓๐ ปี

การเลิกทาส01.png

ทาสในสมัยรัชการที่ ๕

                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสต่างประเทศหลายครั้ง จึงทรงนำความเจริญต่าง ๆ มาปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยขึ้น เช่น ใน พ.ศ.๒๔๑๖ โปรดให้ยกเลิกประเพณีการหมอบคลานเวลาเข้าเฝ้า ทรงประกาศยกเลิกตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” หรือ “วังหน้า” โดยทรงตั้งตำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นแทนใน พ.ศ.๒๔๒๙

                นอกจากนั้นโปรดให้มีการปรับปรุงการแต่งกายและทรงผม เช่น เปลี่ยนจากทรงผมมหาดไทยเป็นผมรองทรงแบบฝรั่ง การแต่งกายของข้าราชการสำนัก โปรดให้นุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนแทนผ้าสมปักแบบเก่า สวมเสื้้อแพรสีตามกระทรวงแทนเสื้อแขนกระบอกแบบเก่า มีพระราชดำริให้ออกแบบเสื้่อราชประแตนและให้ทหารนุ่งกางเกงเพื่อพัฒนาเครื่องแบบให้รัดกุม

                ส่วนการแต่งกายของสตรี โปรดให้ฝ่ายในนุ่งโจง สวมเสื้อแขนยาว ห่มแพรสไบเฉียงบ่านอกเสื้อ สวมถุงน่องและเกือกบู๊ต หากเป็นงานพระราชพิธิีให้นุ่งจีบห่มผ้าตาด หลังจากพระองค์เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ การแต่งกายของสตรีมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เช่น สวมเสื้อแขนหมูแฮมตัดด้วยผ้าลูกไม้ ผ้าไหม ผ้าแพรจากยุโรป แต่ยังนุ่งโจงให้เข้ากับสีเสื้อ สวมถุงเท้า รองเท้าหุ้มข้อแบบตะวันตกนอกจากนี้ยังใช้เครื่องประดับเป็นแข็มกลัดติดเสื้อ สร้อยคอ และสร้อยข้อมือ ส่วนทรงผมมีทั้งทรงดอกกระทุ่มสำหรับสตรีที่เป็นผู้ใหญ่ สำหรับสตรีรุ่นสาวไว้ผมยาว หวีแสกตกแต่งด้วยโบว์ แถบผ้าหรือแถบอัญมณี

ร.501.png
ทหาร204.png

ขุนนางไทยใว้ผม "รองทรง" แบบฝรั่ง

การแต่งกายหญิง201.png
การแต่งกายหญิง101.png

ภาพแสดงวิวัฒนาการการแต่งกายของสตรี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

การศาสนา

                  พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและบูรณปฏิสังขรณ์วัดทั่วประเทศ ทรงสร้างวัดราชบพิตรสถิตมหาสีมารามเป็นวัดประจำรัชกาลในพ.ศ.๒๔๓๒ โปรดให้ตั้งมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยที่วัดมหาธาตุสำหรับพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย และมหามกุฎราชวิทยาลัยที่วัดบวรนิเวศสำหรับพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย

                  ใน พ.ศ.๒๔๓๖โปรดให้จัดพิมพ์หนังสือพระไตรปิฎกด้วยอักษรไทยที่เรียกว่า “พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ” ขึ้นเป็นครั้งแรก และทรงให้แจกจ่ายไปตามพระอารามและหอสมุดต่าง ๆ  ใน พ.ศ.๒๔๔๕ โปรดให้ตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ.๑๒๑ เพื่อให้การปกครองภายในสังฆมณฑลเป็นไปอย่างมีระเบียบ รวมทั้งการบูรณปฏิสังขรณ์วัดทั่วราชอาณาจักร

วัดบวร01.png
วัดราชบพิตร01.png

 

ด้านคมนาคม และการสื่อสาร

               พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงริเริ่มด้านการคมนาคมขึ้นหลายประการ โปรดให้สร้างทางรถไฟหลวงสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ ถึงนครราชสีมาขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๔ นอกจากนี้ยังโปรดให้ตัดถนนขึ้นหลายสาย เช่น ถนนราชดำเนิน ถนนเยาวราช  ทั้งยังทรงให้สร้างสะพานเชื่อมถนนข้ามคลองเพื่อความสะดวกของราษฎร เช่น สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ฯลฯ อีกทั้งพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ให้สร้างสะพานเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นประจำทุกปีในวันเฉลิมพระชนมพรรษานับ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๘ เป็นต้นมา รวมทั้งสิ้น ๑๗ สะพาน โดยชื่อสะพานจะขึ้นต้นด้วยคำว่า “เฉลิม” และตัวเลขต่อท้ายระบุพระชนมพรรษาในปีที่ทรงสร้าง เช่น สะพานเฉลิมศรี ๔๒ สะพานเฉลิมศักดิ์ ๔๓ ฯลฯ  อีกทั้งยังโปรดให้ขุดคลองขึ้นใหม่ และขุดลอกคลองเก่าเพื่อใช้ในการสัญจรและการขนส่ง เช่น คลองทวีวัฒนา คลองรังสิต คลองเปรมประชากร เป็นต้น

วัดบวรนิเวศวิหาร

วัดราชบพิตรสถิตมหาสีมาราม

วัดมหาธาตุ01.png

วัดมหาธาตุ

คมนมคม01.png

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

และสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินินาถ

เสด็จทรงเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ - นครราชสีมา 

การสื่อสาร01.png

กรมไปรษณีย์โทรเลขแห่งแรกของประเทศไทย

stamps-01.png

ดวงตราไปรษณียากรชุดแรกในสยาม  ที่ผลิตขึ้น
ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ออกใช้ครั้งแรกเมื่อวัยท่ี ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๖

              ด้านการสื่อสาร  พระองค์โปรดให้มีการจัดกิจการโทรเลขสายแรกระหว่างกรุงเทพฯ กับสมุทรปราการ  ใน พ.ศ.๒๔๑๘ ทรงสร้างสายโทรเลขสายแรกที่ติดต่อกับต่างประเทศ คือ สายบูรพา เริ่มจากกรุงเทพฯ ถึงจังหวัดพระตะบองไปเชื่อมกับสายโทรเลขอินโดจีนที่เชื่อมกับไซง่อน โดยเปิดให้บริการเมื่อวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๒๖ และภายหลังโปรดให้รวมกิจการไปรษณีย์และโทรเลขเข้าด้วยกันใน พ.ศ.๒๔๔๑ เรียกว่า “กรมไปรษณีย์โทรเลข”

 ด้านการสาธารณูปโภค และสาธารณสูข

                กิจการด้านสาธารณูปโภคในรัชสมัยนี้เจริญก้าวหน้ามาก โดยโปรดให้มีกิจการด้านการประปาและไฟฟ้า และด้านสาธารณสุข เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพอนามัยที่ดี พระองค์ได้พระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ก่อตั้งโรงพยาบาลขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๓๑ เพื่อให้บริการรักษาประชาชนทั่วไป เรียกว่า โรงพยาบาทวังหลัง ปัจจุบันคือ โรงพยาบาลศิริราช และใน พ.ศ.๒๔๓๒ โปรดให้จัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาแพทย์แผนใหม่ขึ้นที่ศิริราชพยาบาล และตั้งโรงเรียนราชแพทยาลัย ในปี พ.ศ.๒๔๔๐
                จากวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)  ยังผลให้ทหารได้รับบาดเจ็บและล้มตายเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงมีพระบรมราชานุญาตให้สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถจัดตั้งสภาอุณาโลมแดง (สภากาชาดไทยในปัจจุบัน) ใน พ.ศ.๒๔๔๐ โปรดให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.๑๑๖ และทรงออกประกาศและตรากฎหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาลหลายฉบับ เช่น ประกาศจัดการทำความสะอาดพระนคร ห้ามขีดเขียนตามกำแพง จัดการทำลายขยะมูลฝอย เป็นต้น

สาธารณสุข01.png

โรงพยาบาทวังหลัง หรือ

โรงพยาบาลศิริราชปัจจุบัน

สาธารณสุข201.png

โรงเรียนราชแพทยาลัย

สภาอุณาโลมแดง0201.png

สภาอุณาโลมแดง

 ด้านวรรณกรรม และศิลปกรรม

                พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถในด้านอักษรศาสตร์อย่างยิ่ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองไว้เป็นจำนวน ๑๐ เรื่อง รวมทั้งจดหมายเหตุรายวัน พระราชหัตถเลขา พระบรมราชาธิบาย พระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่าทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้แก่ ลิลิตนิทราชาคริต พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน บทละครเรื่องเงาะป่า กาพย์เห่เรือ คำเจรจาละครเรื่องอิเหนา ตำรากับข้าวฝรั่ง พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวง นรินทรเทวี และโคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์

พระราชนิพนธ์01.png

ส่วนหนึ่งของพระราชนิพนธ์

ในพระบาทสมเด็จพระจจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เงาะ-01.png

นายคนังลูกเงาะที่พระบาทสมเด็จ

พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนำมาจากพัทลุง

                ด้านศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม โปรดให้สร้างพระที่นั่งใหม่ๆ เป็นตึกแทนพระที่นั่งที่เป็นไม้และเริ่มผุพังขึ้นหลายองค์ ที่สำคัญคือ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาทในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมแบบไทยผสมผสานกับตะวันตกที่แปลกและงดงาม อีกทั้งโปรดให้สร้างพระราชวังดุสิต และพระที่นั่งอนันตสมาคมซึ่งพระที่นั่งองค์นี้เป็นตึกหินอ่อนขนาดใหญ่ สร้างเสร็จในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

โรงเรียนนายร้อย201.png
โรงเรียนนายร้อย01.png
โรงเรียนนายเรือ01.png
พระที่นั่งจักรี01.png

พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

ภายในพระบรมราชวัง

วังดุสิต01.png

วังดุสิต หรือ พระราชวังดุสิต

พระที่นั่งอนันตสมาคม01.png

พระที่นั่งอนันตสมาคม

 ด้านการทหารและการป้องกันประเทศ

                หลังจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จกลับจากสิงคโปร์และชวาใน พ.ศ.๒๔๑๕ ทรงนำแบบอย่างทางการทหารในประเทศเหล่านั้นมาแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับประเทศไทย แบ่งหน่วยทหารในกองทัพเป็นทหารบก และทหารเรือ ปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์ให้มีความทันสมัยใน พ.ศ.๒๔๓๐ โปรดให้ตั้งกรมยุทธนาธิการ ต่อมายกฐานะเป็นกระทรวงกลาโหมใน พ.ศ.๒๔๓๗ ทำหน้าที่บังคับบัญชาทหารบกและทหารเรือ และโปรดให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะเกณฑ์ทหารขึ้นใน พ.ศ.๒๔๔๘ ให้รวมการบังคับบัญชาทหารบกและทหารเรือ เพื่อแยกราชการทหารออกจากราชการฝ่ายพลเรือน   นอกจากนี้พระองค์ได้พระราชทานกำเนิดโรงเรียนนายร้อยทหารบก และโรงเรียนนายเรือ  ทรงจัดตั้งโรงเรียนนายร้อยสำหรับทหารบก เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๐ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนทหารสราญรมย์” และ พ.ศ.๒๔๔๕ ขยายมาตั้งที่ถนนราชดำเนินเป็นโรงเรียนนายร้อยเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๙ ทรงสถาปนาโรงเรียนนายเรือขึ้นที่พระราชวังเดิม พร้อมทั้งทรงส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชไปศึกษาที่ประเทศเยอรมนี และทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ รวมทั้งพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ ไปศึกษาวิชาการทหารที่ประเทศอังกฤษ 

โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม

โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม

โรงเนรียนนายเรือ ที่พระราชวังเดิม

                 พร้อมทั้งทรงส่งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดชไปศึกษาที่ประเทศเยอรมนี และทรงส่งพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ รวมทั้งพระเจ้าลูกยาเธอพระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ ไปศึกษาวิชาการทหารที่ประเทศอังกฤษ 

พระองค์เจ้าอาภากร.jpg

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ

พระองเจ้าอาภากรเกียรติวงศ์

พระองค์เจ้าวุฒิไชย.jpg

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ

พระองค์เจ้าวุฒิชัยเฉลิมลาภ

พระองค์เจ้ามหิตลาธิเบศร์.jpg

สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ

เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช

ลายพระหัตถ์01.png

ลายพระราชหัตถเลขา รัชกาลการที่ ๕ เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนิน

เปิดโรงเรียนนายเรียนที่พระราชวังเดิม พ.ศ.๒๔๔๙

bottom of page