top of page

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๖ พ.ศ. ๒๔๕๓ - ๒๔๖๘ )

รัชกาลที่-6-_4.png

 

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๖)

                หลังจากที่สงครามโลกครั้งที่ ๑ ได้เกิดขึ้นในทวีปยุโรป อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และญี่ปุ่น รวมกันเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร สู้รบกับฝ่ายเยอรมนี และออสเตรีย – ฮังการี  ประเทศไทยรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด จนกระทั่งในวันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๐ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตัดสินพระทัยประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมนี เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นธรรมและความถูกต้อง และเพื่อแสดงให้โลกรู้ว่าประเทศไทยมิใช่ชนชาติที่ขาดหลักธรรม ป่าเถื่อน ปราศจากความเจริญดังที่ชาวตะวันตกเข้าใจกัน

การเข้าร่วมสงครามของประเทศไทย

                เมื่อไทยประกาศเข้าร่วมสงครามแล้ว หน่วยราชการต่าง ๆ ได้รับมอบหมายหน้าที่ ดังนี้

กองทัพเรือ

                มีหน้าที่ในการจับกุมและยึดทรัพย์เชลยทางน้ำ ตรวจตรารักษาชายฝั่งทะเลของไทย เมื่อจับยึดมาได้แล้วให้มอบตัวเชลย และทรัพย์สินที่ยึดมาได้จากเชลยให้กองทัพบกดูแล

กองทัพบก 

                รัฐบาลฝรั่งเศสขอให้รัฐบาลไทยจัดกองทหารออกไปร่วมรบเคียงข้างกับสัมพันธมิตร ทางราชการจึงได้รับสมัครทหารอาสา มีทั้งทหารบกที่รับราชการอยู่แล้ว และประชาชนมาสมัครเป็นทหารอาสา แล้วจัดแบ่งกำลังพลเป็น ๒ กอง คือ กองบินทหารบก และกองทหารบกรถยนต์เป็นจำนวน ๑,๒๘๔ นาย

กองทหารสงครามโลก01.png

กองกำลังทหารไทยในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๑

siamese-forces-in-world-war1_201.png

ทหารฝ่ายไทยเดินทางมาถึงเมื่องท่ามาร์เซย์ (Marseille)

ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๑

               ฝรั่งเศสได้ส่งเรือเอ็มไพร์ (Empire) จากไซ่ง่อนมาที่เกาะสีชัง เพื่อลำเลียงกำลังพลจากไทยไปร่วมทำสงคราม ถึงเมืองมาร์แชลล์ (Marseille) ประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๑ กองทัพไทยถูกส่งประจำการแนวหน้าทันที ทำหน้าที่ลำเลียงกำลังให้แก่กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างเข้มแข็งและกล้าหาญ ทั้งกลางวันและกลางคืนท่ามกลางหิมะ สามารถยึดดินแดนของเยอรมนีทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรน์มาได้ ร่วมกับกองทัพของฝ่ายสัมพันธมิตร รัฐบาลฝรั่งเศสจึงได้ให้ตรา “ครัวซ์เดอแกร์” (Croix de Guerre) มาประดับธงชัยเฉลิมพล เพื่อเป็นเกียรติแก่กองทหารบกรถยนต์ไทย กับได้ให้ตรานี้แก่ทหารไทย ๒ นาย ที่ได้ตรวจทางกระสุนปืนของข้าศึกด้วยความกล้าหาญ สำหรับกองบินทหารบกนั้นไม่มีโอกาสได้เข้าร่วมในสมรภูมิครั้งนี้ เพราะสงครามได้ยุติลงเสียก่อน 

               ในวันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๖๒ เยอรมนีได้ลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพกับฝ่ายสัมพันธมิตร

สงครามโลกครั้งที่ ๑ จึงมีอันยุติลง โดยฝายสัมพันธมิตรได้จัดงานฉลองชัยชนะในยุโรป กองทหารบกรถยนต์ของไทยได้รับเกียรติให้เข้าร่วมสวนสนามในมหานครดังนี้

                วันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๒ สวนสนามในกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

                วันที่ ๑๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๒ สวนสนามในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

                วันที่ ๒๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๖๒ สวนสนามในกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม

6-siamese-forces-in-the-victory-parade2.

ทหารไทยเข้าร่วมสวนสนามกับทหารฝ่ายสัมพันธมิตร
กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส

วงเวียน-2222.png

วงเวียน ๒๒ กรกฎาคม 

อนุสาวรีย์ทหาร022.png

อนุสาวรีย์ทหารอาสาเป็นอนุสรณ์

               กองทหารอาสาของไทยรุ่นสุดท้ายเดินทางกลับกรุงเทพฯ  เมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๖๒ ทหารไทยเสียชีวิตไป ๑๙ นาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดฯ ให้สร้าง “อนุสาวรีย์ทหารอาสา”ไว้ที่บริเวณทิศเหนือของสนามหลวง และสร้าง “วงเวียน ๒๒ กรกฎาคม” เป็นที่ระลึกสำหรับการประกาศสงครามเข้าเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร

               การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ ให้ผลดีแก่ประเทศเป็นอย่างยิ่ง ในฐานะผู้ชนะสงคราม ประเทศไทยสามารถเจรจากับมหาอำนาจหลายประเทศเพื่อขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมด้านต่าง ๆ ที่สำคัญคือ ปัญหาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และการจำกัดอำนาจการจัดเก็บภาษีของประเทศไทยสำหรับคนและสินค้าต่างด้าว ซึ่งทำให้ไทยเสียเปรียบด้านการค้ามาก มีการเจรจานานถึง ๖ ปี จึงสามารถแก้ไขสนธิสัญญาได้ นอกจากนี้ฝ่ายไทยยังได้รับค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงินจำนวน ๒ ล้านบาท และได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสันนิบาต

2_edited_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited_edited.png
bottom of page