top of page

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓)

king-chulalongkorn.png

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

                รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่างเวลาที่อิทธิพลของอังกฤษและฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกทวีความรุนแรงขึ้น โดยสามารถสร้างอาณานิคมประชิดเขตแดนไทยเกือบทุกทิศทุกทาง และแข่งขันกันสร้างอิทธิพลเหนือไทย ฝรั่งเศสแสดงทีท่าคุกคามไทยมากกว่าอังกฤษซึ่งมักใช้วิธีเจรจาทางการทูต เมื่อฝรั่งเศสยึดเขมรส่วนนอกได้แล้วใน พ.ศ.๒๔๑๐ ก็มุ่งไปที่ดินแดนลาวซึ่งเป็นประเทศราชของไทย รัฐบาลไทยจึงวิตกถึงปัญหาพรมแดนที่ยังไม่มีการปักปันขตแดนแน่นอน ทั้งหัวเมืองลาวก็ยังมีฐานะเป็น “เมืองสองฝ่ายฟ้า” กล่าวคือ เจ้าเมืองยอมรับอำนาจการปกครองของทั้งญวนและไทย แต่ต่างฝ่ายต่างจัดการปกครองไม่รัดกุม เป็นช่องทางให้ฝรั่งเศสอ้างสิทธิเหนือดินแดนดังกล่าวในฐานะผู้สืบสิทธิต่อจากญวนได้

เบี้องหลังวิฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒

                เหตุการณ์ที่เปิดโอกาสให้ฝรั่งเศสใช้เป็นข้ออ้างในการเข้าแทรกแซงและรุกราน  หัวเมืองลาว จนเป็นชนวนนำไปสู่การเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ คือ การรุกรานหัวเมืองพวน แคว้นสิบสองจุไท และหัวพันทั้งห้าทั้งหกของพวกจีนฮ่อ ระหว่าง พ.ศ.๒๔๑๘ ถึง พ.ศ.๒๔๒๘ ฝ่ายไทยได้ยกกองทัพไปปราบฮ่อและจัดการปกครองหัวเมืองลาวเหล่านี้ให้เป็นระเบียบ นับเป็นโอกาสให้ไทยได้แสดงสิทธิ์เหนือดินแดนลาว ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๓๐ ระหว่างที่ฝรั่งเศสกำลังปราบปรามพวกฮ่อในแคว้นตังเกี๋ยได้ถือโอกาสส่งกำลังทหารเข้ามาในหัวเมืองลาว โดยอ้างว่าเพื่อตามตีพวกฮ่อที่แตกกระจัดกระจายเข้ามาในดินแดนนั้นใน พ.ศ.๒๔๓๑ ฝรั่งเศสได้เรียกร้องสิทธิของญวนเหนือลาวซึ่งรวมเอาเมืองพวนไว้ด้วยอย่างเป็นทางการ แต่ฝ่ายไทยไม่ยินยอม โดยยืนยันสิทธิของไทยเหนือดินแดนดังกล่าวและไม่รับผิดชอบใด ๆ ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นจากการรุกราน ปัญหาชายแดนที่คาบเกี่ยวกันระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจึงเกิดขึ้น

elephants-carrying-cannons-of-conscripts

ช้างบรรทุกปืนใหญ่ของกำลังพลเกณฑ์ มณฑลพิษณุโลก
มุ่งสู่หลวงพระบางเพื่อปราบจีนฮ่อใน พ.ศ.๒๔๑๘

จอมพล02.jpg

จอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี

(เจิม แสง - ชูโต)

นายณอง01.jpg

นายณอง- มารี โอกุสสต์ ปาวี

Jean-Marie Auguste Pavie

                รัฐบาลไทยตระหนักดีว่า การรักษาดินแดนลาวต่อไปนั้น ต้องมีข้อตกลงร่วมกันเพื่อกำหนดเส้นเขตแดนให้แน่นอน และเป็นที่รับรองร่วมกัน ไทยจึงพยายามแสวงหาความร่วมมือจากฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสไม่พร้อมที่จะร่วมมือกับไทยอย่างจริงจัง ฝรั่งเศสปล่อยให้ดินแดนลาวเป็นปัญหาไว้ ด้วยเหตุนี้กรณีพิพาทชายแดนระหว่างประเทศทั้งสองจึงเกิดขึ้นหลายครั้ง เพื่อเป็นการรักษาอธิปไตยของไทยเหนือแคว้นสิบสองจุไทและหลีกเลี่ยงการใช้กำลัง พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ได้เปิดการเจรจากับนายโอกุสต์ ปาวี  (Auguste Pavie) ผู้ช่วยกงสุลฝรั่งเศสในขณะนั้น ที่เมืองแถง (เป็นเมืองเอกของแคว้นสิบสองจุไท) เพื่อแสวงหาทางออก แต่ไม่สามารถตกลงกันได้    

siamese-forces201.png

กองกำลังของไทยที่เมืองลาว

                 ต่อมาฝรั่งเศสยังพยายามขับไล่ทหารไทยออกจากเมืองแถงจนเป็นผลสำเร็จ ไทยต้องเสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไททั้งหมด ๘๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศสโดยพฤตินัยใน พ.ศ.๒๔๓๑ ความขัดแย้งเรื่องดินแดนลาวระหว่างไทยกับฝรั่งเศสยุติลงชั่วคราวเท่านั้น เพราะฝรั่งเศสมีนโยบายแผ่ขยายอำนาจออกไปจนถึงฝั่งแม่น้ำโขง คือดินแดนทั้งหมดบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวไปจดแดนเขมร นโยบายเช่นนั้นย่อมทำให้เกิดความขัดแย้งกับฝ่ายไทย มีการปะทะกันระหว่างกองกำลังทั้งสองฝ่ายหลายครั้ง

พระยอดเมื่องขวาง.jpg

พระยอดเมืองขวาง

เจ้าเมืองคำมวน

grosgurin thoreaux3.jpg

นายโกรกูแรง

(Grosgurin)

แผนที่แสดงดินแดนที่เป็นของไทยก่อนเสียให้แก่ฝรั่งเศส

แผนที่แสดงดินแดนในแคว้นสิบสองจุไทที่ไทย

เสียให้แก่ฝรั่งเศสใน พ.ศ.๒๔๓๑

แผนที่ก่อนเสียดินแดน.png
แผนที่2431.png

              ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๔๓๖ ฝรั่งเศสส่งทหารญวนและเขมร ๔๐๐ นาย เข้าไปในหัวเมืองลาวกาว ยึดเมืองสตึงแตรงและเมืองดอนสาครได้ตามลำดับ แล้วส่งทหารเข้าไปยังเมืองอัตตะบือและเมืองแสนปางเพื่อบังคับเอาเสบียง ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม  ผู้สำเร็จราชการฝ่ายสยามประจำเมืองสตึงแตรงสามารถจับกุมผู้บังคับการกองเรือฝรั่งเศสคือ นาวาเอก โทเรอซ์  (Capitaine de Vaisseau Thoreux) ได้ที่เมืองคอน (Khon) ซึ่งทำให้สมาชิกสภากลุ่มอาณานิคมของฝรั่งเศสมี  ปฏิกิริยาอย่างรุนแรง พร้อมทั้งร่วมกันร่างคำร้องให้ฝรั่งเศสยึดหมู่เกาะบริเวณอ่าวสยาม เพื่อเตรียมการที่จะเข้ายึดครองประเทศสยามในวันข้างหน้า ในระหว่างนั้นทหารฝรั่งเศสคุมทหารญวนเข้ายึดเมืองต่าง ๆ ตามลุ่มแม่น้ำโขงได้ทั้งสิ้น ๙ เมือง  หัวเมืองลาวถูกโจมตีอย่างหนัก ซึ่งในการสู้รบที่เมืองคำมวนและทุ่งเชียงคำนั้น ฝรั่งเศสจับตัวพระยอดเมืองขวางเจ้าเมืองคำมวนได้ แต่ในขณะที่คุมตัวพระยอดเมืองขวางไปถึงแก่งเจ๊กก่อนถึงปากน้ำพิบูลย์ ทหารฝรั่งเศสปะทะกับกองทัพไทยที่ยกมาช่วยพระยอดเมืองขวาง และนายโกรกูแรง (Grosgurin) นายทหารฝรั่งเศสได้เสียชีวิตในช่วงที่มีการปะทะกัน ฝรั่งเศสเรียกร้องให้ฝ่ายไทยลงโทษพระยอดเมืองขวาง และใช้การเสียชีวิตของนายโกรกูแรงเป็นข้ออ้างในการส่งทหารเพิ่มเติมเข้าไปในลาว

               การปะทะกันระหว่างกองทหารไทยกับฝรั่งเศสยังคงเกิดขึ้นไปตามหัวเมืองลาวกาว โดยผลัดกันรุกผลัดกันรับตลอดมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชหัตถเลขาถึงพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร ข้าหลวงใหญ่หัวเมืองลาวกาวให้ต่อสู้จนถึงที่สุด พร้อมทั้งโปรดให้ส่งกำลังทหารและอาวุธไปเสริมกำลังทางหัวเมืองลาวกาว ลาวพวน จันทบุรีและระยองด้วย แต่การเสริมกำลังนั้นขาดแคลนอาวุธ ในสถานการณ์ตึงเครียดเช่นนั้น เสนาบดีของไทยผู้มีหน้าที่รับผิดชอบต่อเรื่องดังกล่าว  มีความคิดเห็นเป็นสองฝ่าย ฝ่ายของพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นสวัสดิวัตนวิศิษฐ์ เสนาบดีกระทรวงยุติธรรม เสนอให้รบจนถึงขั้นแตกหัก ฝ่ายพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศเห็นควรให้จำกัดขอบเขตการสู้รบ และใช้วิธีเจรจาอย่างเป็นทางการ ซึ่งน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะฝรั่งเศสอาจใช้การตอบโต้นั้นเป็นข้ออ้างในการประกาศสงครามกับไทย 

1.jpg

พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงพิชิตปรีชากร

2.jpg

พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ

กรมหลวงสวัส.jpg

พระเจ้าน้องยาเธอ
กรมหลวงสวัสดิวัฒนวิศิษฐ์

กรมขุนมรุพง01.jpg

พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ

กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์

นายชาร์ล เลอ01.jpg

นายชาร์ล เลอ มีร์ เดอ วิแลร์

               แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงเห็นด้วยกับฝ่ายแรก แต่ก็ทรงเลือกใช้ทั้งสองวิธี โดยมีพระราชดำริว่า “ถ้าไทยพยายามระมัดระวังให้การสู้รบอยู่ในขอบเขตของการป้องกันตัวแล้ว ไทยก็ยังมีโอกาสเจรจากับฝรั่งเศสได้ในยามจำเป็น” นอกจากพระราชดำรินั้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสวงหาความช่วยเหลือจากอังกฤษและสหรัฐอเมริกาด้วย แต่ไม่ประสบความสำเร็จ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ กงสุลไทยประจำกรุงปารีสทรงเข้าพบรัฐมนตรีต่างประเทศฝรั่งเศสนายจูล เดอแวล (Jules Develle) เพื่อประท้วงฝรั่งเศสเรื่องส่งกองทัพเข้ายึดเมืองสตึงแตรง เมืองคอน เกาะเสม็ด และอื่น ๆ แต่การเจรจาประสบความล้มเหลว  เนื่องจากรัฐบาลฝรั่งเศสในขณะนั้นได้รับการสนับสนุนจากรัฐสภาฝรั่งเศส กระทรวงอาณานิคม หนังสือพิมพ์และวงการศาสนาให้ใช้มาตรการรุนแรงกับไทย ในสถานการณ์เช่นนั้น ไทยและฝรั่งเศสต่างเชื่อว่าการใช้วิธีการเจรจาทางการทูตจะไม่บังเกิดผล

เรือเลดลูแตง02.png

เรือเลอ ลูแตง (Le Lutin) ทอดสมอหน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส
ในกรุงเทพฯ ตั้งแต่เดือน เมษายน พ.ศ.๒๔๓๖

               ดังนั้นฝรั่งเศสจึงหันไปใช้นโยบายเรือปืนบีบบังคับฝ่ายไทย โดยส่งเรือรบเลอ ลูแตง (Le Lutin) เข้ามาจอดอยู่หน้ากงสุลฝรั่งเศส ตั้งแต่เดือน เมษายน  พ.ศ.๒๔๓๖ ต่อมาในวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ รัฐบาลฝรั่งเศสได้แต่งตั้งนายชาร์ล เลอ มีร์ เดอ วิแลร์ (Charles Le Myre de Vilers)  เป็นตัวแทนรัฐบาลฝรั่งเศสเข้ามาแจ้งรัฐบาลไทยว่า ถ้าฝ่ายไทยปฏิเสธไม่รับรองสิทธิ์ของฝรั่งเศสบนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ไม่ยอมเสียค่าปรับให้แก่พ่อค้าฝรั่งเศส ไม่ปล่อยตัวนาวาเอก โทเรอซ์ ผู้บังคับบัญชาการกองเรือฝรั่งเศสซึ่งถูกไทย จับตัวไว้ และไม่ยอมลงโทษพระยอดเมืองขวาง ฝรั่งเศสจะถอนคณะทูตออกจากกรุงเทพฯ ทันทีในครั้งนั้นฝรั่งเศสส่งเรือรบอีกลำไปสมทบกับเรือลูแตงที่จอดอยู่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส เหตุการณ์ทวีความรุนแรงขึ้นจนกลายเป็นชนวนนำไปสู่วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ.๒๔๓๖)

วิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒

กรมหมื่นปราบปรปักษ์.jpg

พลเรือโท พระวรวงศ์เธอ

กรมหมื่นปราบปรปักษ์

นาวาโท โบรี.jpg

นาวาโท โบรี

พลเรือตรี อุมาน.jpg

พลตรี อุมาน

แผนที่แสดงการรบที่ปากน้ำระหว่างฝ่ายไทยกับฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖

ภาพแสดงเหตุการณ์ไทยรบฝรั่งเศสที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา

                                                                                                                                   ฝ่ายไทยเตรียมการป้องกัน โดยกำหนดให้ป้อมพระจุลจอมเกล้าเป็น                                                                                                                            ที่ตั้งรับที่สำคัญ เรือทั้งหมดที่มีอยู่ได้แก่ เรือมกุฎราชกุมาร เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์                                                                                                                              (ทั้งสองลำนี้เป็นเรือรบแต่อาวุธล้าสมัย และเล็กกว่าเรือฝรั่งเศส) อีกสามลำคือ                                                                                                                                              เรือทูลกระหม่อมเรือนฤเบนทร์บุตรี และเรือหาญหักศัตรู (มิใช่เรือรบแต่เป็นเรือขนาดเล็กที่ติดตั้งปืนใหญ่แบบโบราณ) เรือลำสุดท้ายที่มาร่วมด้วยคือ เรือทุ่นระเบิด ไทยมีการจมเรือเพื่อขัดขวางการเดินเรือและฝังทุ่นระเบิดไว้ในร่อง เมื่อเรือรบฝรั่งเศสมาถึงป้อมพระจุลจอมเกล้า ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของพระยาชล ยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเยอ หรือ Andreas du Plessis de Richelieu) รองผู้บัญชาการการรบฝ่ายไทยในวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ชาวเดนมาร์ก ฝ่ายทหารไทย ยิงด้วยนัดดินเปล่าเพื่อเป็นการเตือน แต่เรือรบของฝรั่งเศสยังคงมุ่งผ่านสันดอนเข้ามาใน แม่น้ำเจ้าพระยา ทหารไทยที่อยู่ประจำป้อมพระจุลจอมเกล้าและเรือฝ่ายไทยจึงยิงเรือรบฝรั่งเศส ฝ่ายเรือรบฝรั่งเศสก็ยิงโต้ตอบเช่นกัน จึงเกิดการปะทะกันเป็นเวลาประมาณครึ่งชั่วโมงเศษจึงยุติ ต่างฝ่ายต่างได้รับบาดเจ็บและได้รับความเสียหาย เรือฌอง-บัปติสต์ เซย์ ถูกยิงเกยตื้นอยู่ริมฝั่งตรงแหลมลำภูราย ส่วนเรือแองกองสตองต์ และเรือปืนโกเมตสามารถผ่านป้อมผีเสื้อสมุทรโดยแทบจะไม่มีการต่อสู้  เข้ามาได้จนถึงกรุงเทพฯ และจอดเทียบท่าอยู่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส เรือมกุฎราชกุมารของไทยได้รับความเสียหายมากเช่นเดียวกับเรือรบลำอื่น ๆ โดยสรุปต่างฝ่ายต่างได้รับความเสียหาย ดังนี้

ภาพไทยรบฝรั่งเศส.png
แผนที่-รศ.112.png

          วันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๖ นายปาวี กงสุลฝรั่งเศสประจำราชอาณาจักรสยามแจ้งต่อพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการ เสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศของไทยว่า เรือรบฝรั่งเศส ๒ ลำ คือ เรือแองกองสตองต์ (Inconstant) และเรือปืนโกเมต (Comète) จะข้ามสันดอนเข้ามายังแม่น้ำเจ้าพระยา โดยแจ้งในครั้งแรกว่าจะเข้าถึงในวันที่ ๑๕ กรกฎาคม แต่ต่อมาในวันเดียวกัน ได้แจ้งใหม่ว่าจะเข้ามาถึงในวันที่ ๑๓ กรกฎาคม  พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการทรงคัดค้าน และได้ทรงส่งโทรเลขไปถึง พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนมรุพงศ์สิริพัฒน์ กงสุลไทยประจำกรุงปารีสให้แจ้งคัดค้านต่อนายจูล เดอแวล รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศฝรั่งเศส พร้อมทั้งแจ้งด้วยว่าทางไทยได้มีการวางทุ่นระเบิดไว้ในร่องน้ำ นายเดอแวลได้ส่งโทรเลขถึงนายปาวีในเช้าวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ขอถอนคำสั่งเรื่องการผ่านข้ามสันดอนชองเรือรบทั้งสองลำแต่มีปัญหาที่คำสั่งไปไม่ถึง ดังนั้นเรือแองกองสตองต์ ซึ่งนาวาโทโบรี (Bory) เป็นผู้บังคับ พร้อมด้วยเรือปืนกลโกเมต ( Comete) และเรือนำร่องฌอง-บัปติสต์ เซย์ (Jean-Baptiste Say) จึงได้ฝ่าสันดอนแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าไปตามคำสั่งเดิมของพลเรือตรี อุมาน (Contre-Amiral Humann) ผู้บัญชาการกองเรือฝรั่งเศสภาคตะวันออกไกล

ฝ่ายฝรั่งเศส

เรือฌอง-บัปติสต์ เซย์ : ถูกยิง ๒ นัด มีรูทะลุน้ำเข้าเรือ จึงต้องแล่นไปเกยตื้น ไม่ปรากฏว่ามีคนบาดเจ็บล้มตาย

เรือแองกองสตองต์ : ตัวเรือและส่วนบนของเรือมีรอยกระสุนปืนเล็กมากมาย และมีรอยกระสุนปืนใหญ่หลายแห่ง หลักเดวิตเรือโบตหัก ทหารตาย ๑ นาย บาดเจ็บ ๒ นาย

เรือโกเมต : ตัวเรือและส่วนบนของเรือมีรอยกระสุนปืนเล็กมากมาย และมีรอยกระสุนปืนใหญ่ ๒ นัด กระจกบนสะพานเดินเรือแตก เรือเล็ก เสียหาย ๒ ลำ ทหารตาย ๒ นาย บาดเจ็บ ๑ นาย

รวม : ทหารฝรั่งเศสตาย ๓ นาย บาดเจ็บ ๓ นาย

เรือแองกองสตอง03.png

เรือแองกองสตองต์ (The lnconstant)

เรือณอง02.png

เรือณอง - บัปติสต์ เซย์ (The Jean - Baptiste Say)

เรือแองกองสตอง04.png

เรือโกเมต (The Comete)

ฝ่ายไทย

เรือมกุฎราชกุมาร : ถูกกระสุนปืนใหญ่ ๑ นัด ที่หัวเรือ และถูกกระสุนปืนเล็กเป็นจำนวนมาก  เครื่องกว้านสมอชำรุดใช้การไม่ได้

เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ : ถูกกระสุนปืนใหญ่ ๒ นัด ที่ข้างเรือกราบซ้าย ตรงห้องเครื่องจักร ๑ นัด ที่ส่วนบนของเรือ ๑ นัด เรือถูกกระสุนปืนเล็กเป็นจำนวนมาก

เรือหาญหักศัตรู : ถูกยิงที่ท้ายเรือมีช่องโหว่

เรือนฤเบนทร์บุตรี : ไม่ปรากฏว่าถูกยิงที่ใดบ้าง

เรือทูลกระหม่อม : ถูกกระสุนปืนใหญ่ ๑ นัด ที่ตัวเรือ

ป้อมพระจุลจอมเกล้า : ไม่เสียหาย

ป้อมผีเสื้อสมุทร : บริเวณหลุมปืนถูกยิงแต่ไม่เสียหายมาก มีทหารบาดเจ็บ ๖ นาย

รวม : ทหารไทยตาย ๘ นาย บาดเจ็บ ๔๐ นาย

เรือมกุ03.png
พลเรือจัตวา01.jpg
เรือทูลกระหม่อม03.png

เรือมกุราชกุมารเสืยหานมากจากการปะทะกัน

ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส จากวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒

พลเรือจัตวา พระยาชลยุทธโยธินทร์

(Andreas de Plessis de Richelieu)

รองผู้บัญชาการการรบฝ่ายไทย

ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒

เรือทูลกระหม่อมยิงต่อสู้กับฝรั่งเศส

ในวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒

ฉากห��ลังเรือแองกอง02.png

ฉากหลังของภาพนี้จะเห็นเรือแองกิงสตองค์ (กลาง) และเรือโกเมต (ขวา)

แล่นตามเรือนำร่องณอง - บัปติสต์ เซย์ (ซ้าย) ฝ่าแนวกระสุนจากเรือรบ

ฝ่ายไทยและป้อมรพะจุลจอมเกล้า เข้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

ฉากหลังภาพ-02.png

เรือแองกองสตองต์ และเรือปืนโกเมต

จอดเทียบท่าอยู่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส

ผลของการรบที่ปากน้ำเจ้าพระยา ร.ศ.๑๑๒

                หลังจากการสู้รบที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา เรือแองกองสตองต์ และเรือโกแมตได้มาจอดเทียบท่าอยู่หน้าสถานกงสุลฝรั่งเศส นายปาวีได้ยื่นคำขาดต่อฝ่ายไทย ดังนี้

                   ฝรั่งเศสเรียกร้องขอผลประโยชน์เกี่ยวกับสิทธิเหนือดินแดนลาวและพระตะบอง ซึ่งเป็นดินแดนแห่งสุดท้ายที่ไทยเหลือไว้ในเขมร

                   ไทยต้องสละดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และเกาะต่างๆ ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวไปถึงพรมแดนเขมร

                   ไทยต้องถอนด่านที่ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงออกทั้งหมด ภายในหนึ่งเดือน

                   ให้ลงโทษข้าราชการของไทยที่สู้รบกับทหารฝรั่งเศส  

                   ไทยต้องจ่ายค่าทำขวัญเป็นเงินจำนวน ๒ ล้านฟรังก์ และวางเงินประกันจำนวน ๓ ล้านฟรังก์ 

                ฝ่ายไทยต้องให้คำตอบภายใน ๔๘ ชั่วโมง ในขณะเดียวกัน ผู้บังคับการเรือแองกองสตองต์ได้รับคำสั่งว่า “ถ้าถูกโจมตี จงทำลายกองทัพเรือไทยตลอดจนป้อมปราการ” ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอผ่อนปรนให้ความยินยอมแต่มีการโต้แย้งบางประเด็นของข้อเรียกร้องของฝรั่งเศส ทำให้ฝรั่งเศสไม่พอใจ ในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ได้ประกาศปิดอ่าวไทย ทำให้ฝ่ายไทยต้องยินยอมรับคำขาด โดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ต่อมาในวันที่ ๓๐ กรกฎาคม ฝรั่งเศสได้ส่งบันทึกปารีส (Paris Note) เพิ่มเติมว่า

                   ฝรั่งเศสจะยึดปากน้ำและจันทบุรีไว้เป็นประกัน จนกว่าไทยจะเพิกถอนสิทธิและถอนทหารออกจากดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้หมด

                   ไทยจะต้องไม่มีกองกำลังที่เมืองพระตะบอง และเสียมราฐ รวมทั้งภายในรัศมี ๒๕ กิโลเมตร บนฝั่งแม่น้ำโขงตั้งแต่เขมรขึ้นไป  

                   ฝรั่งเศสขอสิทธิที่จะจัดตั้งสถานกงสุลขึ้นที่น่าน และนครราชสีมา

ชักธง01.png
ทหารฝรั่งเศส03.png

กองกำลังทหารฝรั่งเศสชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา

เมื่อยึดจันทบุรีเป็นประกัน
 

ทหารฝรั่งเศสกำลังลำเลียงเงินค่าปฏิกรรมสงคราม

จำนวน ๓ ล้านฟรังก์ซึ่งฝ่ายไทยชำระให้แก่ฝรั่งเศส

                วันที่ ๓๑ กรกฎาคม ไทยได้แจ้งต่อรัฐบาลฝรั่งเศสว่าไทยยินยอมปฏิบัติตามบันทึกปารีสทุกประการ ในการตั้งข้อเรียกร้องเพิ่มเติมนี้ ฝรั่งเศสอ้างว่าเป็นการลงโทษที่รัฐบาลไทยล่าช้าในการตอบรับคำขาด และเพื่อเป็นการค้ำประกันว่าไทยจะปฏิบัติตามข้อเรียกร้องหมดทุกประการ ในวันที่ ๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๖ ฝรั่งเศสได้ยกเลิกการปิดล้อมอ่าวไทย แต่กลับยึดจันทบุรีไว้เป็นประกันจนกว่าไทยจะปฏิบัติตามสัญญาจนครบ  ฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีโดยใช้กำลังทหาร ๑๕๐ นาย ประจำอยู่ที่บริเวณตึกแดง แหลมสิงห์ และตั้งค่ายทหารที่บริเวณค่ายตากสินในปัจจุบัน

                หลังจากนั้นเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๓๖ รัฐบาลไทยและฝรั่งเศสลงนามในสนธิสัญญาและอนุสัญญาไทยกับฝรั่งเศส ส่งผลให้ไทยต้องจ่ายเงินค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่ฝรั่งเศสเป็นจำนวน ๓ ล้านฟรังก์ พร้อมทั้งไทยต้องเสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงคืออาณาจักรลาวเกือบทั้งหมดให้แก่ฝรั่งเศสถือว่าเป็นการเสียดินแดนครั้งสำคัญของประเทศไทย

                ในระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๕ ถึง พ.ศ.๒๔๔๖ ไทยต้องทำสนธิสัญญากับฝรั่งเศสอีกสองฉบับ เพื่อให้ฝรั่งเศสถอนทหารออกจากจันทบุรี โดยไทยต้องยอมเสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง จำนวน ๖๒,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร  ฝรั่งเศสได้ถอนทหารออกจากจันทบุรีเมื่อวันที่  ๘ มกราคม พ.ศ.๒๔๔๗ แต่กลับไปยึดตราดและเกาะกงเป็นประกันแทน

                ในวันที่ ๒๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๙ ได้มีการลงนามในสนธิสัญญาไทยกับฝรั่งเศสที่กรุงเทพฯ  โดยฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากตราดพร้อมทั้งคืนดินแดนด่านซ้าย และทุกเกาะที่ตั้งอยู่ทางใต้ของแหลมสิงห์ จนกระทั่งถึงและรวมทั้งเกาะกูด ฝรั่งเศสได้ทำข้อตกลงเรื่องให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ไทย โดยฝ่ายไทยยกพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ (มณฑลบูรพาหรือเขมรส่วนใน) คิดเป็นพื้นที่ ๕๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตรให้แก่ฝรั่งเศส นับเป็นเวลา ๑๔ ปีที่ไทยต้องตกอยู่ในฐานะถูกคุกคามบีบบังคับจากฝรั่งเศส  ไทยต้องสูญเสียดินแดนลาวเกือบทั้งหมด รวมทั้งแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส รวมพื้นที่ทั้งหมดประมาณ ๒๓๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร

ยึดตราด2.png
สมโถช.02png.png

ผลของอนุสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส พ.ศ.๒๔๔๗
ฝรั่งเศสยอมถอนทหารออกจากจันทบุรี
แต่กลับยึดตราดและเกาะกงไว้เป็นประกัน

งานสมโภชเมืองจันทบุรี
ในเดือน มกราคม พ.ศ.๒๔๔๗

               กล่าวโดยสรุป ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส รวม ๕ ครั้ง ดังนี้

               สมัยรัชกาลที่ ๔

                     เสียเขมรส่วนนอก เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๐ โดยบังคับให้ฝ่ายไทยทำสัญญารับรองอารักขาของฝรั่งเศสในดินแดนเขมรด้วย ผลจากสัญญาไทยต้องเสียดินแดนเขมรเกือบทั้งหมดยกเว้นพระตะบอง เสียมราฐ และเสียเกาะใกล้เขมรอีก ๖ เกาะ รวมพื้นที่ ๑๒๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร

               สมัยรัชกาลที่ ๕

                     เสียแคว้นสิบสองจุไท เมื่อ พ.ศ.๒๔๓๑ ไทยต้องเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส โดยมิได้มีสัญญาใด ๆ เป็นหลักฐานรวมพื้นที่ ๘๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร

                     เสียดินแดนบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พ.ศ.๒๔๓๖ การเสียดินแดนครั้งนี้เป็นการเสียดินแดนที่กว้างใหญ่ที่สุด คิดเป็นพื้นที่ ๑๔๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร

                     เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง พ.ศ.๒๔๔๗ คือ หลวงพระบางฝั่งขวา มโนไพร  จำปาศักดิ์ โดยยอมเสียดินแดนส่วนนี้ ซึ่งมีพื้นที่ ๖๒,๕๐๐๐ ตารางกิโลเมตร เพื่อแลกเปลี่ยนให้ฝรั่งเศสถอนทหารไปจากจันทบุรี โดยฝรั่งเศสได้ถอนทหารออกจากจันทบุรีแต่ไปยึดเมืองตราดแทน

                         เสียพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ (มณฑลบูรพา หรือเขมรส่วนใน) พ.ศ.๒๔๕๐ ซึ่งมีพื้นที่ ๕๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนให้ฝรั่งเศสออกไปจากจังหวัดตราด และฝรั่งเศสยอมยกเมืองด่านซ้าย เมืองตราด เกาะทั้งหลายตั้งแต่แหลมสิงห์ไปจนถึงเกาะกูดให้แก่ไทย ฝรั่งเศสได้ทำข้อตกลงเรื่องให้สิทธิสภาพนอกอาณาเขตแก่ไทย โดยชาวเอเชีย (ลาว เขมร ญวน) ที่เป็นคนในบังคับฝรั่งเศสเมื่อทำผิดต้องขึ้นศาลไทย

36map2436.png

แผนที่แสดงดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง หรืออาณาจักรลาว
เกือบทั้งหมดที่ฝ่ายไทยเสียให้แก่ฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.๒๔๓๖

50map2450.png

แผนที่แสดงดินแดนเขมรส่วนใน (พระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ)
ที่ไทยยกให้แก่ฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.๒๔๕๐ เพื่อแลกกับเมืองตราด

47map2447.png

แผนที่แสดงดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงที่ไทยยกให้แก่ฝรั่งเศส
ใน พ.ศ.๒๔๔๗ เพื่อแลกกับเมืองจันทรบุรี

รวมแผนที่-ร.8.png

แผนที่แสดงการเสียดินแดนเขมรให้แก่ฝรั่งเศส
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ และราชการที่๕

2_edited_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited_edited.png
  • logowangderm2_2
  • Instagram
  • Facebook
  • Twitter

เปิดให้เข้าชม ๐๙:๐๐ ถึง ๑๖:๓๐ น. และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ปิดทุกวันจันทร์
© 2020 Bureau of  french garriso, french garriso of Thailand.

 

bottom of page