top of page

อาคารโบราณสถาน

๑. อาคารกองรักษาการณ์ทหารฝรั่งเศส
    (Guard House Building) 

P1.png

            อาคารกองรักษาการณ์ทหารฝรั่งเศส สร้างในราว พ.ศ. ๒๔๓๖ ช่วงที่ฝรั่งเศสยึดจันทบุรีเป็นประกัน (จากวิกฤตการณ์ รศ. ๑๑๒) อยู่ตอนหน้าประตูค่ายทหาร ใช้เป็นที่อยู่กองรักษาการณ์  ภายหลังจากการบูรณะครั้งใหญ่เสร็จสิ้นใน พ.ศ. ๒๕๕๘ ทางมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิมใช้เป็นสถานที่จัดนิทรรศการเกี่ยวกับพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

011.png
01.png

​จัดนิทรรศการพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับสยามจากการรุกรานของประเทศตะวันตกลุ่มล่าอาณานิคมตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ เมื่อครั้งฝรั่งเศสเข้าครอบครองเขมรซึ่งเป็นประเทศราชของสยามในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นหลังจากเสด็จขึ้นครองราชสมบัติจึงโปรดให้มีการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน เพื่อให้บ้านเมืองเจริญทัดเทียมนานาอารยะประเทศ รวมทั้งให้เลิกทาส ภายหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ.๑๑๒ (พ.ศ. ๒๔๓๖) ฝรั่งเศสเข้ายึดจันทบุรีและดินแดนลาวทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ทรงแก้ไขสถานการณ์โดยทรงดำเนินนโยบายทางการเมือง มีการเสด็จประพาสยุโรปถึง ๒ ครั้ง เพื่อหาพันธมิตรและหาทางเจรจากับฝรั่งเศสโดยตรง ส่งผลให้ฝรั่งเศสยุติการรุกรานสยาม และยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

0610.png
0611_edited.png
0614.png

          พระบรมฉายาลักษณ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร  เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้า สุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี

0619.png

         การแต่งกายของข้าราชการสำนัก โปรดให้นุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนแทนผ้าสมปักแบบเก่า สวมเสื้้อแพรสีตามกระทรวงแทนเสื้อแขนกระบอกแบบเก่า มีพระราชดำริให้ออกแบบเสื้่อราชประแตนและให้ทหารนุ่งกางเกงเพื่อพัฒนาเครื่องแบบให้รัดกุม  เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๕ เสด็จกลับจากประพาสยุโรปในปี ๒๔๔๐ เครื่องแต่งกายแบบสมัยวิคตอเรียได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในราชสำนักไทย โดยเฉพาะ “เสื้อแขนหมูแฮม หรือขาหมูแฮม” ซึ่งเสื้อมีแขนพองตั้งแต่ไหล่ถึงต้นแขน และแนบกับลำแขนถึงข้อศอกหรือข้อมือ คอเสื้อนิยมคอตั้งสูง ตัดพอดีตัว เอวจีบเข้ารูป หรือคาดเข็มขัด ส่วนผ้านุ่งเป็นแบบโจงกระเบนผ้าม่วง ผ้าลาย หรือผ้าผืนให้เข้ากับสีเสื้อ หรือแล้วแต่โอกาส สวมถุงเท้าและรองเท้าคัทชู นอกจากนี้ยังมีการนำผ้าสไบมาจีบจนเหลือเป็นผืนแคบตรึงกลางผืนไว้บนบ่าซ้าย และรวบชายทั้งสองไว้ที่เอวด้านขวา เรียกกันว่า “แพรสะพาย” ซึ่งเป็นที่นิยม

0618.png

           การแต่งกายของสตรี โปรดให้ฝ่ายในนุ่งโจง สวมเสื้อแขนยาว ห่มแพรสไบเฉียงบ่านอกเสื้อ สวมถุงน่องและเกือกบู๊ต หากเป็นงานพระราชพิธิีให้นุ่งจีบห่มผ้าตาด หลังจากพระองค์เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ การแต่งกายของสตรีมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เช่น สวมเสื้อแขนหมูแฮมตัดด้วยผ้าลูกไม้ ผ้าไหม ผ้าแพรจากยุโรป แต่ยังนุ่งโจงให้เข้ากับสีเสื้อ สวมถุงเท้า รองเท้าหุ้มข้อแบบตะวันตกนอกจากนี้ยังใช้เครื่องประดับเป็นแข็มกลัดติดเสื้อ สร้อยคอ และสร้อยข้อมือ ส่วนทรงผมมีทั้งทรงดอกกระทุ่มสำหรับสตรีที่เป็นผู้ใหญ่ สำหรับสตรีรุ่นสาวไว้ผมยาว หวีแสกตกแต่งด้วยโบว์ แถบผ้าหรือแถบอัญมณี

0616.png

           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระปรีชาสามารถในด้านอักษรศาสตร์อย่างยิ่ง ได้ทรงพระราชนิพนธ์ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรองไว้เป็นจำนวน ๑๐ เรื่อง รวมทั้งจดหมายเหตุรายวัน พระราชหัตถเลขา พระบรมราชาธิบาย พระบรมราชวินิจฉัย และพระราชวิจารณ์ต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่มีคุณค่าทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์และโบราณคดี ได้แก่ ลิลิตนิทราชาคริต พระราชพิธีสิบสองเดือน พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน บทละครเรื่องเงาะป่า กาพย์เห่เรือ คำเจรจาละครเรื่องอิเหนา ตำรากับข้าวฝรั่ง พระราชวิจารณ์จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวง นรินทรเทวี และโคลงบรรยายภาพรามเกียรติ์

0615.png

           พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ.๒๔๑๖ โปรดให้สร้างหอรัษฎากรพิพัฒน์ ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ของแผ่นดินมารวมไว้แห่งเดียวกัน ภายหลังยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงกำหนดอัตราภาษีอากรให้เสมอภาคกัน มีการจัดงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๓๖ เพื่อแยกงบประมาณแผ่นดินและเงินส่วนพระองค์ออกจากกันเด็ดขาด โปรดให้จัดตั้งธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๔๙ ในนาม “บริษัทสยามกัมมาจล” (ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์) 

bottom of page