top of page
กระดานข่าว
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ก.ย.๖๗ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดเกาะขวาง (สังวาลย์ราษฎร์รังสรรค์) ต.จันทนิมิต อ.เมือง จว.จันทบุรี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖“จัดกิจกรรมทัศนศึกษาให้กับนักเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ สร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้นอกห้องเรียนอันเป็นประโยชน์” เข้าศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเข้าเยี่ยมชมอาคารโบราณสถานภายในพื้นที่ค่ายตากสิน จำนวน ๑๓๘ คน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ก.ย.๖๗ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีได้กำหนดจัดกิจกรรมจิตอาสา ๓ ศาสนาสามัคคี นำคณะครูและนักเรียนเด็กเยาวชน และศาสนิกชน ๓ ศาสนา “ภายใต้โครงการ ศาสนิกสัมพันธ์จังหวัดจันทบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗” เข้าศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเข้าเยี่ยมชมอาคารโบราณสถานภายในพื้นที่ค่ายตากสิน จำนวน ๕๐ คน
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ส.ค.๖๗ คณะครูและนักเรียนศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอนายายอาม อ.นายายอาม จว.จันทบุรี “จัดโครงการค่ายพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนรู้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๗” เข้าศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเข้าเยี่ยมชมอาคารโบราณสถานภายในพื้นที่ค่ายตากสิน จำนวน ๕๐ คน
วันพุธที่ ๑๔ ส.ค.๖๗ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ต.ท่าช้าง อ.เมือง จว.จันทบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ “จัดการเรียนรู้โดยใช้ Project based learning ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗” เข้าศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเข้าเยี่ยมชมอาคารโบราณสถานภายในพื้นที่ค่ายตากสิน จำนวน ๓๐ คน
อาคารโบราณสถาน
๔. อาคารกองบัญชาการทหารฝรั่งเศส
(Headquarters Building)
เป็นตึกสี่เหลี่ยมหลังคาตัด สร้างขี้นเมื่อครั้งฝรั่งเศสยึดจันทบุรีเป็นประกันตามอนุสัญญาข้อ ๖ ซึ่งต่อท้ายหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามและฝรั่งเศส วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๔๓๖ (ร.ศ.๑๑๒) เพื่อใช้เป็นที่บัญชาการและที่อยู่ของผู้บังคับทหารฝรั่งเศส ภายหลังที่ทางราชการไทยได้จัดการตั้งกองทหารเรือประจำจังหวัดจันทบุรีใน พ.ศ. ๒๔๔๙ (ร.ศ. ๑๒๕) พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร ซึ่งในขณะนั้นดำรงพระยศเป็นผู้บัญชาการทหารเรือชายทะเลได้ทรงจัดการเปลี่ยนแปลงสภาพอาคารหลังนี้ โดยก่อสร้างหลังคาและกั้นฝาเป็นห้องทับซ้อนบนหลังคาอาคารหลังนี้อีกชั้นหนึ่ง เนื่องจากพระองค์มีพระประสงค์เพื่อใช้เป็นที่ประทับในคราวเสด็จออกตรวจราชการทหารเรือเป็นครั้งคราวเท่านั้น ภายหลังจากที่กองทหารม้ามาตั้งอยู่ที่อาคารหลังนี้ ได้ดัดแปลงอาคารโดยการรื้อถอนหลังคาตอนบนที่สร้างไว้เมื่อครั้งกรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกรออกเนื่องจากเครื่องบนชำรุดเสียหายและหากทำการซ่อมแซมต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก จึงได้รื้อถอนเสียทำให้อาคารหลังนี้กลับมามีสภาพเหมือนเมื่อครั้งกองทหารฝรั่งเศสสร้างไว้
ในอดีตฝรั่งเศสใช้เป็นที่บัญชาการและเป็นที่อาศัยของผู้บังคับบัญชาการทหาร ภายหลังใช้เป็นกองบังคับการกองพัน และหมวดสื่อสารกองกองพัน
จัดแสดงความสัมพันธ์ไทย - ฝรั่งเศสตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี สยามกับฝรั่งเศสมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันตลอดรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทั้งในด้านการค้า ศาสนาและการทูต โดยมีคอนสแตนติน ฟอลคอน หรือเจ้าพระยาวิไชยเยนทร์ เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ แต่เมื่อสิ้นสุดรัชกาล สมเด็จพระเพทราชาไม่มีพระราชประสงค์ที่จะสานต่อ ความสัมพันธ์จึงสิ้นสุดลง สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ฝรั่งเศสกับมาฟื้นฟูความสัมพันธ์อีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่ความสัมพันธ์ไม่ได้ราบรื่น สยามต้องสูญเสียเขมรซึ่งเป็นประเทศราชของสยามให้ฝรั่งเศส ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ฝรั่งเศสต้องการลาวซึ่งเป็นเมืองขึ้นของสยาม จนเกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. ๑๑๒ ผลตามมาคือสยามต้องสละดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขงและเกาะต่าง ๆ ตั้งแต่ภาคเหนือของลาวไปจนถึงพรมแดนเขมร เสียค่าปฏิกรรมสงคราม อีกทั้งฝรั่งเศสยังยึดจันทบุรีไว้เป็นประกัน แต่ปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขจนลุล่วงไปด้วยดีด้วยพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรขอให้รัฐบาลไทยจัดกองทหารไปร่วมรบเคียงข้างกับฝ่ายสัมพันธมิตร และส่งเรือมาลำเลียงกำลังพลจากไทยไปร่วมทำสงครามถึงเมืองมาร์แซลล์ ประเทศฝรั่งเศส รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ไทยประกาศนโยบายเป็นกลางถือโอกาสเจรจาเรียกร้องดินแดนที่เคยเสียให้ฝรั่งเศสกลับคืนมา แต่ฝรั่งเศสไม่ประสงค์จะคืนให้ เกิดการสู้รบระหว่างกองเรือลาดตระเวนไทยและเรือรบของฝรั่งเศสที่เรียกว่า การรบที่เกาะช้าง หลังการรบไทยดินแดนคืนมาชั่วคราว แต่ต้องคืนกลับให้ฝรั่งเศสซึ่งเป็นฝ่ายพันธมิตรและฝ่ายชนะสงคราม
bottom of page