top of page

ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

 

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๙๔ - ๒๔๑๑ )

ราชการที่-4.png

 

พระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Napoleon_III_201.png

จักรพรรดิ์นโปเลียนที่ ๓ แห่งฝรั่งเศส
( Napoléon III, พ.ศ.๒๓๙๔ - ๒๔๑๔

                ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับฝรั่งเศสได้ลดน้อยลงมาก เมื่อสิ้นแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ ฝรั่งเศสกลับมาฟื้นฟูพระราชไมตรีกับไทยอีกครั้งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อติดต่อค้าขาย สร้างอิทธิพลและผลประโยชน์แข่งกับอังกฤษ  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเองก็มีพระราชดำริว่า การผูกมิตรกับบรรดามหาอำนาจเป็นความจำเป็น เพื่อเป็นการถ่วงดุลอำนาจ และมิให้ชาติหนึ่งชาติใดมีบทบาทมากเกินไป ดังนั้น พระองค์จึงโปรดให้มีการติดต่อกับฝรั่งเศส แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศมิได้ดำเนินไปอย่างราบรื่น 
                ใน พ.ศ.๒๓๙๙ จักรพรรดิ์นโปเลียนที่ ๓ โปรดให้ชาร์ล เดอ มองตินยี่ (Charles de Montigny) กงสุลฝรั่งเศสประจำเซียงไฮ้ เป็นผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มมาเจรจาทำสนธิสัญญาพระราชไมตรีและการค้า  คณะราชทูตฝรั่งเศสชุดนี้ได้ประสบความสำเร็จในการสถาปนาความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

พระราชวังฟองเตนโบล01.png

พระราชวังฟองเตนโบล

2_edited_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited_edited.png
2_edited_edited_edited.png

                    ใน พ.ศ.๒๔๐๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้คณะราชทูตไทยอัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ ๓ เพื่อเจริญพระราชไมตรีกับฝรั่งเศส คณะราชทูตไทยประกอบด้วยพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) เป็นราชทูต จมื่นไวยวรนาถ (วอน บุนนาค) เป็นอุปทูต และพระณรงค์วิชิต (จอน บุนนาค) เป็นตรีทูต และเป็นผู้จดบันทึกการเดินทางในครั้งนี้ คณะราชทูตไทยลง เรือรบฝรั่งเศสชื่อ จีโรงเดอะ (Gironde)  ที่ฝรั่งเศสจัดมารับที่นอกสันดอน โดยพิธีการอัญเชิญพระราชสาสน์ลงเรือรบฝรั่งเศสนั้นจัดเป็นพิธีการอย่างสมพระเกียรติยศ และในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๐๔ คณะราชทูตไทยได้เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการแด่จักรพรรดิ์นโปเลียนที่ ๓ ณ พระราชวังฟองเตนโบล ฝรั่งเศสได้ต้อนรับคณะราชทูตเป็นอย่างดี

Untitled-1.jpg
phraya tak2.jpg
พระณรงค์วิชิต.jpg

พระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษาธิบดี

จมื่นไวยวรนาถ

พระณรงค์วิชิต

the-siamese-embassy202.png
1280px-Jean-Leon_Gerome_001_201.png

คณะราชทูตไทยเข้าเฝ้าจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ ๓
ณ พระราชวังฟองเตนโบล เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔

คณะราชทูตไทยที่เดินทางไปถวายพระราชสาส์นแด่จักรพรรดิ์นโปเลียนที่ ๓
ณ พระราชวังฟองเตนโบล

เครื่องราชบรรณาการ-(1)01.png
เครื่องราชบรรณาการ-(5)01.png
เครื่องราชบรรณาการ01.png
เครื่องราชบรรณาการ-(3)01.png
เครื่องราชบรรณาการ-(6)01.png
เครื่องราชบรรณาการ-(4)01.png
พระแสงดาบ01.png

ส่วนหนึ่งของเครื่องราชบรรณาการที่นำไปทูลเกล้าฯ ถวายจักรพรรดิ์นโปเลียนที่ ๓ แห่งฝรั่งเศส

 การตั้งสถานกงสุลฝรั่งเศส

                ตามสนธิสัญญาพระราชไมตรี ฝรั่งเศสได้ตั้งกงสุลฝรั่งเศสประจำกรุงเทพฯ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๓๙๙ ซึ่งกงสุลฝรั่งเศสคนแรกคือ กงต์ เดอ กาสเตลโน (Comte de Castelnau) หลังจากนั้นมีกงสุลฝรั่งเศสประจำราชอาณาจักรสยามอีกหลายท่าน  ต่อมาใน พ.ศ.๒๔๐๖ นายกาเบรียล โอบาเร่ต์ (Gabriel Aubaret) ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกงสุล

                สถานกงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทยตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บนพื้นที่เช่า ๔ ไร่ ๒ งาน ๘๖ ตารางวา เป็นอาคารโรงภาษีเก่า และได้เป็นทำเนียบถาวรของผู้แทนฝรั่งเศสตั้งแต่นั้นมา ต่อมาในวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๑๘ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินผืนนี้ให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส ใน พ.ศ.๒๔๖๘ หรือ อีก ๕๐ ปี ต่อมาทางการไทยได้จัดทำโฉนดที่ดินเพื่อยืนยันกรรมสิทธิ์ของรัฐบาลฝรั่งเศสในการถือครองพื้นที่ทั้งหมด สถานกงสุลฝรั่งเศสประจำประเทศไทยตั้งอยู่ ณ สถานที่แห่งนี้เรื่อยมาปัจจุบันคือสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

the-french-consulate-during-king-rama-IV

สถานกงสุลฝรั่งเศสสมัยรัชกาลที่ ๔

ปัจจุบันคือสถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย

Francis_de_Laporte_de_Castelna301.png

กงต์ เดอ กาสเตสโน

( Comte de Castelnau)

                อาคารสถานทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทยเป็นสถาปัตยกรรมแบบอิตาลี ก่อสร้างโดยช่างชาวอิตาเลียน เป็นอาคารยกพื้นสูง และมีระเบียงด้านหน้าหันสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารที่หันหน้าออกไปทางแม่น้ำเจ้าพระยาแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการคมนาคมทางน้ำในอดีต

การเสียดินแดนให้แก่ฝรั่งเศส

                ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นช่วงเวลาที่ประเทศกำลังเผชิญกับการขยายตัวของมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษและฝรั่งเศส ทั้งสองประเทศแข่งขันกันทั้งในด้านการค้าและการเมือง  ฝรั่งเศสได้เริ่มต้นการล่าเมืองขึ้นในอินโดจีนเป็นครั้งแรกในรัชสมัยของจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ ญวนเป็นเป้าหมายแรกที่ฝรั่งเศสต้องการ หลังจากฝรั่งเศสยึดไซง่อน และดินแดนบางส่วนในญวนใต้ (โคชินไชน่า) จากญวนแล้วใน พ.ศ.๒๔๐๒ มีการลงนามในสนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสกับญวนใน พ.ศ.๒๔๐๕ โดยญวนยกดินแดนปากแม่น้ำโขงที่เรียกว่าโคชินไชน่า (Cochinchina) ให้แก่ฝรั่งเศส พร้อมทั้งสัญญาว่าจะไม่ยกดินแดนดังกล่าวให้ผู้ใดหากฝรั่งเศสไม่ยินยอม  ฝรั่งเศสจึงได้ใช้ดินแดนนั้นเป็นที่มั่นในการขยายอิทธิพลเข้าไปในเขมรซึ่งเป็นประเทศราชของไทยในสมัยนั้น โดยอ้างว่าตนเป็นผู้สืบต่อรับสิทธิ์ญวนเหนือเขมร ฝรั่งเศสถือว่าเขมรเคยเป็นประเทศราชของญวนมาก่อนและเคยส่งเครื่องราชบรรณาการให้ญวนเหมือนที่ส่งให้ไทย ดังนั้น ฝรั่งเศสจึงต้องมีสิทธิ์ปกครองเขมรในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของญวน สำหรับสาเหตุที่ฝรั่งเศสสนใจเขมรเป็นอย่างมากเนื่องจาก

ฝรั่งเศสบุกญวน01.png

ภาพกองทหารของฝรั่งเศสเข้าโจมตีเมืองไซง่อนของญวน

      เขมรเป็นดินแดนที่มีแม่น้ำโขงไหลผ่าน ฝรั่งเศสหวังจะใช้แม่น้ำโขงเป็นทางที่นำฝรั่งเศสไปยังประเทศจีนโดยเฉพาะแคว้นยูนนานที่ฝรั่งเศสคาดว่าจะเป็นตลาดการค้าที่สำคัญ

     การประมงเป็นกิจกรรมใหญ่ตามชายทะเลสาบเขมร ทำให้เขมรมีความสำคัญในด้านเศรษฐกิจ

       เขมรจะช่วยส่งเสริมให้ญวนใต้ที่ตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสมีความมั่นคงและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และใช้เป็นบันไดสำคัญในการขยายอาณาเขตของฝรั่งเศสไปทางภาคเหนือ อีกทั้งเขมรยังเป็นศูนย์กลางของเสบียงอาหารที่สำคัญ เพราะอุดมไปด้วยสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ปลา ที่ฝรั่งเศสใช้เป็นอาหารสำหรับทหารของตนในญวนใต้

               กงต์ เดอ กาสเตลโน (Comte de Castelnau) กงสุลฝรั่งเศสประจำราชอาณาจักรสยามในเวลานั้นพยายามเรียกร้องให้ฝรั่งเศสทำสนธิสัญญากับเขมรโดยเร็ว ฝรั่งเศสต้องการสร้างอาณานิคมของตนแต่ทำไม่สำเร็จเนื่องจากเขมรถือว่าเป็นประเทศราชของไทย หากจะมีการทำสนธิสัญญาใด ๆ ตัวแทนของฝรั่งเศสต้องไปทำสนธิสัญญาเกี่ยวกับเขมรที่กรุงเทพฯ  ปัญหาเขมรกลายเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไทยกับฝรั่งเศสเกิดความบาดหมางใจกัน ในวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๔ นายกาสเตลโนพยายามเรียกร้องสิทธิของฝรั่งเศสเหนือเขมร และเรียกร้องที่จะทำสนธิสัญญากับเขมรโดยตรง แต่ฝ่ายไทยไม่ยินยอม พร้อมทั้งปฏิเสธไม่ยอมรับการอ้างสิทธิของฝรั่งเศสเหนือเขมร และไม่ยอมให้ฝรั่งเศสเปิดการเจรจาโดยตรงกับเขมร  นายกาสเตลโนรู้ว่าไทยมีอิทธิพลและอำนาจเหนือเขมร ฝรั่งเศสควรทำสนธิสัญญากับเขมรโดยผ่านทางไทย แต่ไทยต้องยอมเสียสละสิทธิบางประการให้แก่ฝรั่งเศสเป็นการแลกเปลี่ยนกัน นายกาสเตลโนจึงร่างสนธิสัญญาเสนอต่อทางการไทยเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๐๔ แต่เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เสนาบดีกลาโหมของไทยไม่พิจารณา การเจรจาระหว่างไทยและฝรั่งเศสจึงหยุดชะงัก

แม่น้ำโขง25664.png

แผนที่แสดงแม่น้ำโขงไหลผ่านประเทศจีน

ลาว ไทย กัมพูชา และออกทะเลที่เวียดนาม

the-stone-lintel-sculped-head01.png

ภาพหน้าบันเศียร เทวรูป และเศียรพระพรหม

drawing-of--angkor01.png

ปราสาทนครวัด

                กงต์ เดอ ชาสลู โลบา (Comte de Chasseloup Laubat) รัฐมนตรีกระทรวงทหารเรือและอาณานิคมของฝรั่งเศส อ้างว่าตั้งแต่ฝรั่งเศสได้ครองญวนใต้แล้ว ฝรั่งเศสยึดเป็นหลักเสมอว่าไทยไม่มีสิทธิใด ๆ เหนือเขมรอีกแล้ว และไม่เคยยอมรับรู้ถึงสิทธิใดๆ ที่ไทยอ้างเกี่ยวกับเขมร นายชาสลู โลบา เห็นว่าการยึดเขมรเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส นอกจากจะเป็นการกีดกันอำนาจของไทยมิให้แทรกแซงเขมรแล้ว ยังเป็นการยับยั้งไม่ให้อังกฤษใช้ไทยเป็นบันไดในการแผ่อาณานิคมของตนมายังเขมรได้ นายชาสลู โลบามอบหมายให้นายพลเรือตรี เดอ ลา กรองติแยร์ (Contre Amiral de la Grandière) ผู้ว่าราชการแคว้นโคชินไชน่าของฝรั่งเศสในขณะนั้นดำเนินการทำสนธิสัญญากับเขมรโดยไม่ต้องผ่านไทยนายกรองติแยร์เข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้านโรดมพรหมบริรักษ์ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๐ พร้อมทั้งนำร่างสนธิสัญญาให้สมเด็จพระเจ้านโรดมพรหมบริรักษ์ลงพระนามเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส แม้ในตอนแรกสมเด็จพระเจ้านโรดมพรหมบริรักษ์จะทรงปฏิเสธ โดยทรงขอรายงานมาทางกรุงเทพฯ ก่อนว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะโปรดเกล้าฯ ประการใด แต่นายกรองติแยร์ ไม่ยอม และบังคับให้สมเด็จพระเจ้านโรดมพรหมบริรักษ์ทรงลงพระนามในสนธิสัญญา โดยยอมให้มีการแก้ถ้อยคำได้เพียงเล็กน้อย อีกทั้งให้แปลเป็นภาษาเขมรให้เสร็จภายในวันเดียว สมเด็จพระเจ้านโรดมพรหมบริรักษ์ทรงจำยอมลงพระนามในวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๐๖

king narodim phromborirak2.jpg

สมเด็จพระเจ้านโรดมพรหมบริรักษ์

King Norodom Prohmbarirak

comte de chasseloup2.jpg

กงด์ เดอ ชาสลู โลบา

Comte de Chasseloup Laubat

De_la_Grandière_amiral2.jpg

พลเรือเรือ เดอ ลา กรองดิแยร์

Rear Admiral de la Grandiere

                เมื่อฝ่ายไทยทราบเรื่องดังกล่าว ได้ทำหนังสือประท้วงไปยังกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส และเพื่อเป็นการป้องกันสิทธิของไทยเหนือเขมร ฝ่ายไทยได้ส่งข้าหลวงพิเศษไปทำสัญญาลับกับเขมร เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๐๖ และมีการแลกเปลี่ยนสัตยาบันระหว่างไทยกับเขมรในวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๔๐๗ ยืนยันว่าเขมรเป็นประเทศราชของไทย (เนื่องจากฝรั่งเศสจะจัดให้มีสัตยาบันระหว่างฝรั่งเศสกับเขมรในวันที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ.๒๔๐๗)  นายกาเบรียล โอบาเร่ต์ กงสุลฝรั่งเศสประจำราชอาณาจักรสยามในขณะนั้นเมื่อทราบข่าวดังกล่าวจากหนังสือพิมพ์สเตรตส์ไทม์ (Straits Times) ของสิงคโปร์ได้แจ้งให้นายดรูแอง เดอ ลุส (Édouard Drouyn de Lhuys) รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสทราบและได้ทำการประท้วง ซึ่งผลของการทำสัญญาลับระหว่างไทยกับเขมรเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๐๖ ก่อให้เกิดสงครามเย็นระหว่างไทยกับฝรั่งเศส

gabriel acbaret.jpg

นายกาเบรียล โอบาเร่ล์

Gabral Aubaret

edouard drouyn de lhuys.jpg

นายดรูแอง เดอ ลุส

Edouard Drouyn de Lhuys

arships-tp-force-narodom-phromborirak201

พลเรือตรี เดอ ลา กรองติเยร์ นำเรือรบเข้ามาข่มขู่สมเด็จพระเจ้านโรดมพรหมบริรักษ์

เพื่อบีบบังคับให้ทำสัญญายอมอยู่ใต้อารักขาฝรั่งเศส

               นายโอบาเร่ต์พยายามที่จะทำให้สนธิสัญญาลับระหว่างไทยกับเขมรเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๐๖ เป็นโมฆะ พร้อมทั้งแสดงให้เห็นว่าไทยสูญเสียสิทธิเหนือเขมรโดยสิ้นเชิง นายโอบาเร่ต์พยายามขอเปิดการเจรจาทำสนธิสัญญากับไทย แต่ไม่ค่อยจะราบรื่น ฝรั่งเศสจึงได้นำเรือปืนมิตราย (Mitraille) เข้ามาในน่านน้ำเจ้าพระยาเพื่อข่มขู่ไทย ฝ่ายไทยจำต้องยินยอมลงนามในสนธิสัญญากับฝรั่งเศสในวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ.๒๔๐๘ ไทยยังคงมีสิทธิเหนือลาว ซึ่งกงต์ เดอ ชาสลู โลบา ไม่พอใจสนธิสัญญานั้นเป็นอย่างยิ่ง เพราะต้องการให้ลาวเป็นดินแดนอิสระ การค้าของฝรั่งเศสในแถบอินโดจีนจะได้ดำเนินไปได้โดยสะดวกไม่มีอุปสรรค นับแต่นั้นมา ฝ่ายไทยและฝรั่งเศสต่างฝ่ายต่างถือผลประโยชน์ส่วนตน เพื่อเป็นการยุติปัญหาการโต้แย้ง ทางราชสำนักไทยได้ส่งคณะราชทูตไทยไป เข้าเฝ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ เพื่อขอเจรจาทำสนธิสัญญาใหม่ ซึ่งนำไปสู่การให้สัตยาบันระหว่างไทยกับฝรั่งเศสใน พ.ศ.๒๔๑๐

phraya surawong2.jpg

พระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์

lione de3.jpg

นายเดอ มูสติเย

Lionet de Moustier

1.jpg

นายดูนแซน เดอ แบลกูร์
Gustave Duchesna de Bellecourt

               คณะราชทูตไทยชุดพิเศษซึ่งมีพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์เป็นราชทูต พระยาราชเสนาป็นอุปทูตในการเดินทางไปฝรั่งเศสครั้งนี้ ราชทูตไทยได้รับความช่วยเหลือเป็นอย่างดีจากนายชาร์ล เดอ มองตินยี่ ซึ่งทำหน้าที่ล่ามให้ระหว่างผู้แทนฝ่ายไทยกับ เดอ มูสติเย (Lione de Moustier) รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศของฝรั่งเศส คณะทูตไทยชุดนี้ได้ เข้าเฝ้าจักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ และกราบบังคมทูลเรื่องคำร้องขอของรัฐบาลและข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ของไทยถึงสถานการณ์ และความไม่พอใจของคนไทยในเรื่องสนธิสัญญาระหว่างฝรั่งเศสกับเขมรที่ทำในพ.ศ.๒๔๐๖ ในที่สุดมีการลงนามในหนังสือสนธิสัญญาระหว่างไทยกับฝรั่งเศสที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๑๐ และให้สัตยาบันสนธิสัญญาดังกล่าวในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๑๐ โดยนายดูนแชน เดอ แบลกูร์ กงสุลฝรั่งเศสประจำปัตตาเวีย ซึ่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้มีอำนาจในการลงนาม

ทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าร.4-สค.64.png

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ

ให้คณะราชทูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม

รูปปั้น2องค์01.png

พระบรมรูปปั้นครึ่งองค์จักรพรรดินโปเลียนที่ ๓ และจักรพรรดินีเออเจนี

ซึ่งพระเจ้านโปเลียนที่ ๔ พระราชทานมาถวาย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ภายในพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท พระบรมราชวัง

                ผลของสนธิสัญญาฉบับวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๑๐ ทำให้ไทยสูญเสียเขมร โดยฝ่ายไทยต้องรับรู้สิทธิของฝรั่งเศสเหนือเขมรอย่างเป็นทางการ สนธิสัญญาลับระหว่างไทยกับเขมรใน พ.ศ.๒๔๐๖ เป็นโมฆะ นอกจากนั้นไทยต้องเสียเขมรเกือบทั้งหมดและ เกาะที่ใกล้เขมรอีก ๖ เกาะ  รวมเป็นเนื้อที่ประมาณ ๑๒๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ให้แก่ฝรั่งเศส แต่ฝรั่งเศสยอมรับรองว่าพระตะบอง และเสียมราฐยังคงเป็นของไทย โดยที่ไทยไม่เรียกร้องบรรณาการจากเขมรอีก ถือว่าเป็นการเสียดินแดนครั้งแรกของไทยให้แก่ฝรั่งเศสในสมัยรัตนโกสินทร์

แผนที่ก่อนเสียดินแดน.png

แผนที่แสดงดินแดนของเขมรส่วนนอกที่ไทย
เสีย
ให้แก่ฝรั่งเศสใน พ.ศ.๒๔๑๐

bottom of page