กระดานข่าว
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ก.ย.๖๗ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนวัดเกาะขวาง (สังวาลย์ราษฎร์รังสรรค์) ต.จันทนิมิต อ.เมือง จว.จันทบุรี ระดับชั้นอนุบาลปีที่ ๑ ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖“จัดกิจกรรมทัศนศึกษาให้กับนักเรียนเพื่อเพิ่มพูนความรู้ สร้างประสบการณ์ในการเรียนรู้นอกห้องเรียนอันเป็นประโยชน์” เข้าศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเข้าเยี่ยมชมอาคารโบราณสถานภายในพื้นที่ค่ายตากสิน จำนวน ๑๓๘ คน
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ ก.ย.๖๗ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดจันทบุรีได้กำหนดจัดกิจกรรมจิตอาสา ๓ ศาสนาสามัคคี นำคณะครูและนักเรียนเด็กเยาวชน และศาสนิกชน ๓ ศาสนา “ภายใต้โครงการ ศาสนิกสัมพันธ์จังหวัดจันทบุรี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๗” เข้าศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเข้าเยี่ยมชมอาคารโบราณสถานภายในพื้นที่ค่ายตากสิน จำนวน ๕๐ คน
วันพฤหัสบดีที่ ๒๒ ส.ค.๖๗ คณะครูและนักเรียนศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอนายายอาม อ.นายายอาม จว.จันทบุรี “จัดโครงการค่ายพัฒนาคุณภาพ ผู้เรียนรู้ศึกษาแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๗” เข้าศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเข้าเยี่ยมชมอาคารโบราณสถานภายในพื้นที่ค่ายตากสิน จำนวน ๕๐ คน
วันพุธที่ ๑๔ ส.ค.๖๗ คณะครูและนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ต.ท่าช้าง อ.เมือง จว.จันทบุรี ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ “จัดการเรียนรู้โดยใช้ Project based learning ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๗” เข้าศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และเข้าเยี่ยมชมอาคารโบราณสถานภายในพื้นที่ค่ายตากสิน จำนวน ๓๐ คน
รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นยุคสมัยที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองในทุก ๆ ด้าน ทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่เป็นคุณประโยชน์ต่อปวงชนชาวไทยนานับประการ ส่งผลให้บ้านเมืองเกิดความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศ สรุปได้ดังนี้
ด้านการปกครอง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองเป็นลำดับตามสถานการณ์และความเหมาะสม โดยใน พ.ศ. ๒๔๑๗ ทรงตั้งสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน (Council of State) และสภาองคมนตรี (Privy Council) ขึ้นเป็นสภาที่ปรึกษาราชการส่วนพระองค์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการนำรูปแบบการปกครองแบบตะวันตกมาใช้ ใน พ.ศ.๒๔๓๑ ทรงประกาศยกเลิกระบบจตุสดมภ์และมีพระบรมราชโองการตั้งกระทรวง ๑๒ กระทรวงขึ้นเพื่อจัดระบบบริหารราชการแผ่นดินให้มีความชัดเจนและเหมาะสม และในปลายรัชสมัยทรงปรับปรุงเหลือ ๑๐ กระทรวง
สำหรับการปกครองส่วนภูมิภาคนั้น โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ยกเลิกการปกครองที่เรียกว่า “ระบบกินเมือง” มาเป็น “ระบบเทศาภิบาล” แบ่งการปกครองเป็นมณฑล เมืองและอำเภอ โดยให้อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทยเพื่อเป็นการเชื่อมโยงอำนาจการบริหารปกครองเข้าสู่ส่วนกลาง โดยโปรดให้จัดตั้งมณฑลเทศาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. ๒๔๓๗
ด้านเศรษฐกิจและการคลัง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงระบบการจัดเก็บภาษีอากรให้รัดกุมยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ.๒๔๑๖ โปรดให้สร้างหอรัษฎากรพิพัฒน์ ทำหน้าที่จัดเก็บรายได้ของแผ่นดินมารวมไว้แห่งเดียวกัน ภายหลังยกฐานะขึ้นเป็นกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงกำหนดอัตราภาษีอากรให้เสมอภาคกัน มีการจัดงบประมาณแผ่นดินขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๓๖ เพื่อแยกงบประมาณแผ่นดินและเงินส่วนพระองค์ออกจากกันเด็ดขาด โปรดให้จัดตั้งธนาคารขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ.๒๔๔๙ ในนาม “บริษัทสยามกัมมาจล” (ปัจจุบันคือธนาคารไทยพาณิชย์)
หลังจากที่เสด็จพระราชดำเนินกลับจากการประพาสยุโรปครั้งแรก ได้โปรดให้นำระบบทศนิยมเข้ามาใช้เป็นครั้งแรกในระบบเงินตราของไทย และเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินปลีก ใน พ.ศ.๒๔๑๗ โปรดให้ผลิตธนบัตรขนาด ๑ อัฐ ขึ้นใช้เป็นการชั่วคราวประกาศยกเลิกการใช้เงินพดด้วงในการชำระหนี้เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๗ และใน พ.ศ.๒๔๕๒ ทรงปรับปรุงหน่วยเงินปลีกโดยรวมเข้าด้วยกัน และตั้งเป็นหน่วยเงินตราขึ้นใหม่ในระบบทศนิยมเรียกว่า “สตางค์”
ด้านกฎหมายและการศาล
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องแก้ไขปรับปรุงกฎหมายและการศาลให้ทันสมัยเพื่อแก้ไขสนธิสัญญาต่าง ๆ ที่ไทยต้องเสียเปรียบชาติตะวันตก ทรงตั้งกระทรวงยุติธรรมขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๔ เพื่อปรับปรุงระเบียบการศาลให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั่วราชอาณาจักรและโปรดให้ตั้งศาลโปริสภา (ศาลแขวงในปัจจุบัน) และศาลหัวเมืองโดยเริ่มที่มณฑล กรุงเก่าเป็นแห่งแรกใน พ.ศ.๒๔๓๙ ใน พ.ศ.๒๔๔๐ ทรงสถาปนาโรงเรียนสอนกฎหมาย และโปรดให้มีการชำระพระราชกำหนดกฎหมายตลอดจนตราประมวลกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อให้มีความทันสมัยและทัดเทียมกับนานาประเทศ รวมทั้งมีการส่งนักเรียนไทยไปศึกษาวิชากฎหมายในทวีปยุโรป พร้อมทั้งมีการประกาศใช้กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗ เป็นฉบับแรก
สตางค์
เงินพดด้วง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงไว้พระเกศารองทรงและทรงฉลองพระองค์
ชุดราชประแตนและโจงกระเบน
นอกจากนี้พระองค์ยังทรงว่าจ้างชาวต่างชาติเข้ามารับราชการหลายคนด้วยกัน ที่สำคัญได้แก่ นายกุสตาฟ โรแลง ฌาคเกอแมงส์ (Gustave Rolin-Jaequemyns) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศชาวเบลเยี่ยมเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินระหว่างปี พ.ศ.๒๔๓๗ - ๒๔๔๖ ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ กับ นายเอ็ดเวิร์ด เฮนรี่ สโตรเบล (Edward Henry Strobel) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายระหว่างประเทศและการทูตผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกัน รับราชการสืบต่อจากนายฌาคเกอแมงส์ (ระหว่าง พ.ศ.๒๔๔๖ - ๒๔๕๑) ทั้งสองท่านได้มีส่วนร่วมในการให้คำปรึกษาในการร่างสนธิสัญญาต่าง ๆ เพื่อแก้ไขข้อพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศสจนสามารถบรรลุข้อตกลงได้
กฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.๑๒๗
นายกุสตาฟ โรแลง ฌาคเกอแมงส์
นายเอ็ดเวิร์ด เฮนรี่ สโตรเบล
ด้านการต่างประเทศ
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการเจริญพระราชไมตรีและการทูตกับต่างประเทศมากกว่าในรัชกาลที่ผ่านมา ใน พ.ศ.๒๔๑๓ ได้เสด็จเยือนประเทศเพื่อนบ้านเป็นครั้งแรก โดยเสด็จเยือนสิงคโปร์และชวา และต่อมาใน พ.ศ.๒๔๑๔ เสด็จประพาสอินเดียและพม่า ใน พ.ศ.๒๔๔๐ และ พ.ศ.๒๔๕๐ เสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป ซึ่งการเสด็จประพาสต่างประเทศของพระองค์ส่งผลให้ไทยเป็นที่รู้จักของนานาประเทศ ทำให้ได้พันธมิตรเพิ่มขึ้นและหลังการเสด็จกลับได้ทรงนำแบบอย่างที่ได้รับมาพัฒนาปรับปรุงประเทศไทยให้มีความเจริญในด้านต่าง ๆ ให้ทัดเทียมนานาอารยประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงแต่งตั้งทูตไทยไปประจำยังประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรปและอเมริกา ใน พ.ศ.๒๔๒๔ ได้ทรงแต่งตั้งพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ เป็นทูตไทยคนแรกประจำราชสำนักเซนต์เจมส์แห่งอังกฤษ และประจำประเทศต่าง ๆ ในยุโรปและอเมริกา รวมถึง ๑๒ ประเทศ ก่อนได้รับการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นอัครราชทูตประจำกรุงปารีส
ด้านสังคม
การศึกษา
พระวรวงศ์เธอ
พระองค์เจ้าปฤษฎางค์
วัดมหรรณพารามวรวิหาร
โรงเรียนแห่งแรกสำหรับประชน
พิพธภัณฑสภานแห่งชาติ
ตั้งอยู่ในบริเวณพระบรมราชวัง (วังหน้า)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้ความสำคัญกับการศึกษาเป็นอย่างมาก โปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงแห่งแรกขึ้นในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ.๒๔๑๔ และโปรดให้ขยายการศึกษาสู่ประชาชน โดยตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับประชาชนแห่งแรกที่วัดมหรรณพารามวรวิหารใน พ.ศ.๒๔๒๗ ตลอดรัชสมัยของพระองค์มีโรงเรียนต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย อาทิเช่น โรงเรียนหลวง โรงเรียนราษฎร์ โรงเรียนสำหรับสตรี โรงเรียนฝึกหัดครู ทรงตั้งกระทรวงธรรมการ (ซึ่งปัจจุบันคือ กระทรวงศึกษาธิการ) ขึ้นใน พ.ศ.๒๔๓๕ ทำหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบระบบการศึกษาของประเทศ นับได้ว่าเป็นการจัดระบบการศึกษาครั้งแรกของประเทศ อีกทั้งทรงส่งนักเรียนไทยไปศึกษาต่อต่างประเทศ เพื่อที่จะนำความรู้กลับมาช่วยพัฒนาบ้านเมืองให้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ทรงริเริ่มจัดตั้งหอพระสมุดสำหรับพระนคร พิพิธภัณฑสถาน และโบราณคดีสโมสร
การเลิกทาส
ประเพณีและวัฒนธรรม
การเลิกทาสนับเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญและเป็นพระราชประสงค์ตั้งแต่แรกเสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เนื่องจากการมีทาสเป็นเครื่องถ่วงความเจริญของบ้านเมือง ใน พ.ศ.๒๔๑๗ โปรดให้ตรา “พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณอายุลูกทาสลูกไทย” พร้อมพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อช่วยไถ่ถอนทาสบางส่วน โปรดให้เลิกบ่อนเบี้ยซึ่งเป็นสาเหตุของการซื้อขายทาส อีกทั้งทรงริเริ่มและขยายการศึกษาให้คนได้รู้หนังสือ
ใน พ.ศ.๒๔๔๘ โปรดให้ตราพระราชบัญญัติทาสรัตนโกสินทร์ศก ๑๒๔ กำหนดให้เลิกทาสทั่วราชอาณาจักร พระบรมราโชบายในการเลิกทาสแบบผ่อนปรนค่อยเป็นค่อยไปทำให้จำนวนทาสลดลงตามลำดับ และเลิกระบบทาสได้สำเร็จโดยปราศจากความวุ่นวาย รวมเวลาทั้งสิ้น ๓๐ ปี
ทาสในสมัยรัชการที่ ๕
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จประพาสต่างประเทศหลายครั้ง จึงทรงนำความเจริญต่าง ๆ มาปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยขึ้น เช่น ใน พ.ศ.๒๔๑๖ โปรดให้ยกเลิกประเพณีการหมอบคลานเวลาเข้าเฝ้า ทรงประกาศยกเลิกตำแหน่ง “กรมพระราชวังบวรสถานมงคล” หรือ “วังหน้า” โดยทรงตั้งตำแหน่ง “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร” ขึ้นแทนใน พ.ศ.๒๔๒๙
นอกจากนั้นโปรดให้มีการปรับปรุงการแต่งกายและทรงผม เช่น เปลี่ยนจากทรงผมมหาดไทยเป็นผมรองทรงแบบฝรั่ง การแต่งกายของข้าราชการสำนัก โปรดให้นุ่งผ้าม่วงโจงกระเบนแทนผ้าสมปักแบบเก่า สวมเสื้้อแพรสีตามกระทรวงแทนเสื้อแขนกระบอกแบบเก่า มีพระราชดำริให้ออกแบบเสื้่อราชประแตนและให้ทหารนุ่งกางเกงเพื่อพัฒนาเครื่องแบบให้รัดกุม
ส่วนการแต่งกายของสตรี โปรดให้ฝ่ายในนุ่งโจง สวมเสื้อแขนยาว ห่มแพรสไบเฉียงบ่านอกเสื้อ สวมถุงน่องและเกือกบู๊ต หากเป็นงานพระราชพิธิีให้นุ่งจีบห่มผ้าตาด หลังจากพระองค์เสด็จกลับจากประพาสยุโรปครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๔๔๐ การแต่งกายของสตรีมีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง เช่น สวมเสื้อแขนหมูแฮมตัดด้วยผ้าลูกไม้ ผ้าไหม ผ้าแพรจากยุโรป แต่ยังนุ่งโจงให้เข้ากับสีเสื้อ สวมถุงเท้า รองเท้าหุ้มข้อแบบตะวันตกนอกจากนี้ยังใช้เครื่องประดับเป็นแข็มกลัดติดเสื้อ สร้อยคอ และสร้อยข้อมือ ส่วนทรงผมมีทั้งทรงดอกกระทุ่มสำหรับสตรีที่เป็นผู้ใหญ่ สำหรับสตรีรุ่นสาวไว้ผมยาว หวีแสกตกแต่งด้วยโบว์ แถบผ้าหรือแถบอัญมณี